คอลัมน์ “Golf Healing” โดย “พลโทนายแพทย์ สมศักดิ์ เถกิงเกียรติ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกประจำโรงพยาบาลพระมงกุฎ และ โรงพยาบาลรามคำแหง มีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยมากกว่า 30 ปี somsak_doctor@hotmail.com”
“กลิ่นอะไรว๊ะ?” คุณชูสง่าทำจมูกฟุดฟิดหลังก้าวเข้าห้อง “เหม็นตุๆเหมือนปลาเค็มเน่า…อ้วก!” “อ๋อ…ถุงเท้าของไอ้เก่งน่ะครับ” พี่หมอเฉลย “มันไปย่ำน้ำฝนมา หมกไว้ ลืมเอาออกมาซัก2วัน เน่าเลย” “ผมลืมจริงๆ” เจ้าเด็กอ้วนหน้าเหลือ2นิ้ว “ขนาดเอาออกไปแล้ว กลิ่นยังลอยอยู่เลย” ระวังนะเก่ง แบคทีเรียมันเป็นสาเหตุ “โรคเท้าเหม็น” รักษายากด้วย” “อี๋!…โรคเท้าเหม็น” เจ้าเก่งทำเสียงสูง ดราม่าน่าหมั่นไส้
แม้เท้าจะเป็นอวัยวะที่คนส่วนใหญ่ ไม่ค่อยให้ความใส่ใจในการดูแลมากนัก แต่อย่างไรก็ดีเรื่องของกลิ่นเท้า คงไม่ใช่สิ่งที่ใครอยากจะมี ดังนั้นใครก็ตามที่มีกลิ่นเท้าควรรีบหาวิธีแก้ไขเพื่อรักษาภาพลักษณ์และสร้างความมั่นใจให้กับตนเอง เพราะบางทีที่คุณอาจต้องออกไปพบปะกับเพื่อน ผู้ใหญ่ ลูกค้าหรือออกเดทครั้งแรกแล้วต้องถอดรองเท้า และปรากฏว่ากลิ่นเท้าของคุณไม่โอเคเลย แบบนี้ก็คงไม่ไหวแล้วนะ
-กลิ่นเท้าเกิดจากอะไร?
สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดกลิ่นเท้า มาจากเหงื่อที่ออกบริเวณเท้าและแบคทีเรีย ซึ่งบริเวณเท้าจะมีต่อมเหงื่อจำนวนมากที่ผลิตเหงื่อออกมา ในสภาวะแวดล้อมที่แตกต่างกันออกไป และนอกจากนี้ สาเหตุอื่นที่ทำให้เกิดกลิ่นเท้าก็ยังมีอีกนั่นก็คือ การใส่รองเท้า-ถุงเท้าที่ไม่สะอาด อับชื้น หรือใส่ซ้ำเป็นเวลานาน รวมถึงการใส่รองเท้าไปเดินลุยน้ำก็ทำให้เกิดกลิ่นเท้าได้อีกเช่นกัน
-วิธีแก้เมื่อมีกลิ่นเท้า
1)รักษาความสะอาดของเท้าด้วยการล้างเท้าด้วยสบู่และเช็ดให้แห้งทุกครั้ง ส่วนใครที่มีกลิ่นเท้าแรงกว่าปกติ อาจจะใช้วัตถุดิบที่หาได้ง่ายอย่างเช่น เบคกิ้งโซดา ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยลดการเจริญเติบโตของแบคทีเรียได้ โดยผสมน้ำแล้วแช่เท้านาน 20 นาที ทุกวันเป็นเวลา 1 สัปดาห์
2)รักษาความสะอาดของรองเท้าด้วยการนำไปตากแดดหรือทำการซักอย่างน้อยเดือนละครั้งก็ยังดี เพื่อลดการสะสมของเชื้อโรคและแบคทีเรีย เลือกใส่รองเท้าที่ระบายอากาศได้ดี หรือไม่คับจนเกินไป รวมถึงการใส่ถุงเท้าคู่ใหม่ทุกวัน
3)ใช้ผงระงับกลิ่นเท้าหรือสเปรย์ฉีดเท้า ซึ่งได้รับความนิยมใช้กันในปัจจุบัน แต่ถ้าปัญหากลิ่นเท้ารุนแรงทำอย่างไรก็ไม่หาย ควรไปพบแพทย์ เพราะอาจเป็นโรคเท้าเหม็น (pitted keratolysis)ซึ่งเป็นโรคที่พบมานานถึง 90 ปีแล้ว พบในผู้ที่ต้องเดินเท้าเปล่าย่ำน้ำเป็นประจำจนผิวหนังชั้นนอกของฝ่าเท้าเปียกชื้นจากน้ำที่เจิ่งนองและจากเหงื่อ จนทำให้ผิวหนังยุ่ยและเกิดการติดเชื้อแบคทีเรีย โรคเท้าเหม็นพบมากในประเทศเขตร้อน พบในผู้ชายมากกว่า เพราะเหงื่อออกมากและสวมถุงเท้าตลอดเวลา
-ยาที่ใช้รักษาโรคเท้าเหม็น
ยาที่ใช้ลดความอับชื้น เช่น 20% Aluminum Chloride เป็นผงแป้งใช้วันละ 2 ครั้ง หากยังคงมีเหงื่อออกมา แพทย์อาจพิจารณาโดยการฉีด Botulinum Toxin ที่ฝ่าเท้า เพื่อระงับสัญญาณที่ส่งมาจากสมองไปยังต่อมเหงื่อ เพื่อลดการสร้างเหงื่อที่เท้า ซึ่งต้องมีแพทย์ให้การดูแล ยาที่ใช้ลดปริมาณเชื้อแบคทีเรีย เช่น Clindamycin Erythromycin เป็นต้น
เผยแพร่: 31 พ.ค. 256…
This website uses cookies.