Golf Sponsored
Categories: กอล์ฟ

ครูกอล์ฟ ครูข้ามเพศ สุดเจ็บปวดถูกเลือกปฏิบัติ ตกอยู่ในสภาพข้าราชการเถื่อน – ไทยรัฐ

Golf Sponsored
Golf Sponsored
  • “Pride Month” ในเดือนมิถุนายนของทุกๆ ปีเป็นเดือนแห่งความภาคภูมิใจของกลุ่มคนหลากหลายทางเพศ (LGBTQ) จากจุดเริ่มการเคลื่อนไหวในปี ค.ศ. 1970 เพื่อรำลึกเหตุการณ์ที่เจ้าหน้าที่ใช้ความรุนแรง ขณะบุกเข้าตรวจ “สโตนวอลล์ อินน์” บาร์คนรักเพศเดียวกัน ในแมนฮัตตัน ประเทศสหรัฐฯ เมื่อปี ค.ศ. 1969
  • แต่ด้วยการระบาดของโควิด ทำให้การจัดกิจกรรมเรียกร้องสิทธิต่างๆ ต้องถูกระงับไป มีเพียงการเคลื่อนไหวผ่านช่องทางโซเชียล เช่นเดียวกับประเทศไทย แม้พ.ร.บ.ความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558 บังคับใช้ไปแล้วกว่า 5 ปี แต่กลับมีข้าราชการครูข้ามเพศ บางคน ยังถูกเลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม แตกต่างจากข้าราชการครูข้ามเพศรายอื่นๆ
  • เฉกเช่นครูกอล์ฟ ครูข้ามเพศ สอนภาษาอังกฤษมานานกว่า 13 ปี เจอการบีบคั้น กีดกันการแสดงออกตามเพศสภาพอย่างมากมาย เคยจำยอมฝืนใจใส่วิกผม แต่งเครื่องแบบข้าราชการครูชาย ไปทำงาน ตรงข้ามกับเพศสภาพที่ได้ผ่าตัดแปลงเพศจากชายเป็นหญิงไปแล้ว และยังเจอมรสุมไม่จบสิ้น อยู่ในสภาพไม่ต่างจากข้าราชการเถื่อน ไม่มีบัตรประจำตัวข้าราชการ เพราะติดปัญหาเรื่องเอกสารการรับรองคุณวุฒิและวิชาชีพ เป็นเวลากว่า 2 ปี

“ครูกอล์ฟ ถูกเลือกปฏิบัติ อยู่ในสภาพข้าราชการเถื่อน

เกิดอะไรขึ้นกับ “ครูกอล์ฟ ครูข้ามเพศสอนอยู่ในโรงเรียนรัฐบาลชื่อดัง หลังขึ้นตำแหน่งมาเป็นครูชำนาญในปี 2563 และยื่นคำขอทำบัตรข้าราชการ ซึ่งดูเหมือนจะราบรื่น มีการออกหนังสือรับรองจากโรงเรียนต้นสังกัด ส่งตามกระบวนการไปยังสำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษาเขต 2 เมื่อวันที่ 19 มิ.ย. 2563 แต่กลับพบอุปสรรค กลายเป็นจุดเริ่มในการต่อสู้จนถึงปัจจุบัน จากการเลือกปฏิบัติไม่เป็นธรรม เพราะรูปถ่ายครูกอล์ฟที่ยื่นไป แต่งเครื่องแบบปกติขาวหญิง ตามเพศสภาพปัจจุบัน

การตีเรื่องกลับมาในครั้งนั้น เพราะขัดระเบียบการแต่งกายตามพ.ร.บ.เครื่องแบบข้าราชการฯ 2548 และอ้างถึงหนังสือราชการที่ออกโดยสำนักนายกรัฐมนตรี ต้องแต่งกายให้สอดคล้องกับคำนำหน้านามคือ “นาย” แม้โรงเรียนต้นสังกัดพยายามช่วยเหลือ ส่งหนังสือชี้แจงพร้อมใบรับรองแพทย์ว่าเป็นหญิงข้ามเพศ โดยสรีระสมบูรณ์แล้ว แต่ก็ไม่เป็นผล

ไม่เป็นไปตามพ.ร.บ.ความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ.2558 และในที่สุดสมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย ได้เข้าช่วยเหลือครูกอล์ฟ ให้ได้รับสิทธิอันชอบธรรม โดยยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการวินิจฉัยการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ และสร้างแคมเปญรณรงค์ ให้กำลังใจครูกอล์ฟ และร่วมลงชื่อส่งเสียงไปยังสำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษาเขต 2 กระทรวงศึกษาธิการ และคุรุสภา ให้ข้าราชการข้ามเพศ สามารถทำบัตรประจำตัวและแต่งกายตามเพศสภาพได้

เพราะการไม่มีบัตรข้าราชการ ส่งผลกระทบมากมาย โดยเฉพาะเรื่องการช่วยเหลือลูกศิษย์ จบม.6 จะเข้าเรียนมหาวิทยาลัย ด้วยฐานะทางบ้านไม่ค่อยดี จำเป็นต้องกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา จึงขอความช่วยเหลือจากครูกอล์ฟ ในการเซ็นรับรอง แต่ไม่สามารถทำได้ กลายเป็นความเจ็บปวด ขมขื่นของผู้เป็นครู

เมื่อการต่อสู้เริ่มขึ้น ครูกอล์ฟ รู้สึกใจชื้นขึ้นมาบ้างคิดว่า 80% น่าจะสำเร็จ และอีก 20% ต้องทำใจเผื่อไว้ หากไม่เกี่ยวกับบัตรประจำตัวข้าราชการ คงไม่ออกมาเคลื่อนไหว เพราะบัตรข้าราชการ เป็นบัตรที่ระบุตัวตนของเราในการติดต่อและทำธุรกรรมต่างๆ ซึ่งต้องชัดเจนตรงกับเพศสภาพของตัวเอง และปัจจุบันบัตรวิชาชีพได้หมดอายุไปแล้ว รวมถึงบัตรข้าราชการใบเก่าก็ถูกยึดไปด้วย จนไม่สามารถทำอะไรได้เลย และเสียสิทธิในการพัฒนาวิชาชีพในการประเมินตำแหน่ง จากการถูกเลือกปฏิบัติ

10 กว่าปี สังคมไม่ยอมรับ แต่งตัวเป็นชาย กิริยาเป็นหญิง

ครูกอล์ฟ เล่าว่า เกือบ 10 กว่าปีที่ผ่านมา ตั้งแต่บรรจุเป็นครูใหม่ๆ ต้องทนกับสภาพสังคมที่ไม่เปิดกว้าง จากกลุ่มข้าราชการครู ยุคเบบี้บูม ซึ่งคนกลุ่มนี้เมื่อให้พูดถึงเรื่องเพศสภาพ มักมองว่าไม่เหมาะสม ยกเว้นเป็นเกย์ แต่งสาว ก็ไม่เท่าไร แต่เมื่อครูกอล์ฟ เข้าไปทำงาน แม้แต่งตัวเป็นชาย แต่กิริยาเป็นผู้หญิง “พูดดิฉัน พูดหนู” ก็ถูกมองไม่เหมาะสม

ต่อมาเมื่อย้ายไปทำงานที่ใหม่ อาจไม่ถูกยอมรับเพราะยังไม่มั่นใจในฝีมือ และจากกระบวนการความเชื่อว่าพฤติกรรมแบบนี้ จะถ่ายทอดไปสู่นักเรียน จึงถูกระแวดระวัง และกลุ่มผู้ปกครองที่มีคุณูปการต่อโรงเรียน มองว่าไม่ดีต่อการสอน ทำให้ถูกจำกัดสิทธิห้าม “พูดคะ พูดขา” ห้ามแต่งหญิง ในรัศมี 5 กิโลเมตรรอบโรงเรียน

“แรกๆ เหมือนจะยอมรับได้ แต่ก็ไม่เต็มที่ ไม่สามารถทำสิ่งที่เคยชินได้ จนกลายเป็นพวกอนุรักษนิยมไปด้วย แต่พอเริ่มเปลี่ยนผู้บริหาร และจากกระแสสังคมที่เปลี่ยนไป มีส.ส.ข้ามเพศ แต่งกายชุดข้าราชการหญิง ทำให้เริ่มเปลี่ยนแปลง หันมาแต่งกายใส่กระโปรงเป็นหญิงในวันแรกของปีการศึกษา 62 จนมีรุ่นพี่หัวอนุรักษนิยม ไปกดดันผู้บริหารให้จัดการ ถูกเรียกไปพบผอ. แต่ก็ไปหาเองไปขอโทษ และถูกบอกให้ไปแต่งกายเหมือนเดิม ตามพ.ร.บ.แต่งกายข้าราชการ”

ที่ผ่านมาครูข้ามเพศรายอื่น ขอแต่งกายตามเพศสภาพ ทำได้ไม่มีปัญหา เกิดจากการเลือกปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ไม่มีการตกลงกันก่อน หากมีการยอมอนุโลมให้ ก็โชคดีไป รวมถึงบัตรประจำตัวข้าราชการ ซึ่งมีหลายจังหวัดอนุโลมทำให้ แม้ว่าสำนักนายกรัฐมนตรี ตีความการแต่งกายชุดข้าราชการปกติขาว โดยมองว่ากลุ่มคนข้ามเพศ ใช้สิทธิเหนือผู้อื่นก็ตาม ขณะที่โรงเรียนอื่นทำได้เพราะขึ้นอยู่ที่ดุลพินิจของผู้บริหารแต่ละคน

ลุกขึ้นมาต่อสู้ แต่งกายเป็นครูหญิง สร้างบรรทัดฐานใหม่

ส่วนกรณีครูกอล์ฟ ถูกสั่งห้าม หากฝ่าฝืนจะถูกลงโทษ เนื่องจากผิดวินัยข้าราชการ กระทั่งไปเจอพี่นาดา ไชยจิตต์ จากสมาคมฟ้าสีรุ้งฯ ให้ยืนหยัดตามเพศสภาพของตัวเองและผ่านการผ่าตัดแปลงเพศมาแล้ว ทำให้ตัดสินใจแต่งกายเป็นผู้หญิงอีกครั้ง แม้ถูกบังคับไม่ให้ใส่ก็ตาม ซึ่งช่วงแรกเหมือนโจร ต้องหลบๆ ซ่อน จนรอดมาได้ เพราะคิดว่าแม้จะแต่งหญิง แต่ไม่บกพร่องในการทำหน้าที่ครู จนผู้บริหารยอม ก่อนเกษียณไม่นาน

นอกจากนี้ ตั้งแต่ไทยมีกฎหมายความเท่าเทียมระหว่างเพศ ทำให้กระทรวงศึกษาธิการได้ออกประกาศเจตนารมณ์ไม่เลือกปฏิบัติ โดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ ครอบคลุม 6 เรื่อง ส่งไปยังจังหวัดต่างๆ แต่ในพื้นที่กทม. กลับพบว่าสำนักงานเขตการศึกษาบางพื้นที่ไม่ให้ความสำคัญ

“จริงๆ แล้วไม่อยากมีปัญหากับเจ้านาย ในพื้นที่เขตการศึกษา เพียงแต่รู้สึกว่าถูกเลือกปฏิบัติ ไม่ใช่เราคนเดียว ยังมีรุ่นน้อง รุ่นพี่ ออกมาเคลื่อนไหวเหมือนเรา มีความเสี่ยงต่อตำแหน่งข้าราชการ ไม่รู้จะเป็นอย่างไรต่อไป แต่ก็ยอมเอาตัวเองออกมา อยากให้การออกมาครั้งนี้ ทำให้เกิดบรรทัดฐานใหม่ของประเทศ ว่าประเทศของเราไม่ได้แบ่งเฉพาะหญิง ชาย แต่มีบุคคลหลากหลายทางเพศที่เป็นหนึ่งในฟันเฟือง ในการขับเคลื่อนประเทศ”

ก.ม.ไทย ย้อนแย้ง ช่องโหว่เลือกปฏิบัติ จำเป็นต้องแก้ไข

“แดนนี่-กิตตินันท์ ธรมธัช’ นายกสมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย ในฐานะผู้อยู่เบื้องหลังในการผลักดันกฎหมายเพื่อความเท่าเทียมทางเพศ บอกว่า พ.ร.บ.ความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558 แทบไม่ต้องมี เพราะรัฐธรรมนูญทั้งปี 2550 และปี 2560 พูดถึงเรื่อง ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน ห้ามเลือกปฏิบัติหมายความรวมไปถึงเพศสภาพ แต่ในบริบทความเป็นจริงในสังคมไทย ยังมีการบังคับห้ามแต่งกายตามเพศสภาพ จากพ.ร.บ.เครื่องแบบข้าราชการฝ่ายพลเรือน พ.ศ.2478 ซึ่งไม่มีการแก้ไขให้เดินหน้าไปกับรัฐธรรมนูญ

กรณีครูกอล์ฟ แม้มีพ.ร.บ.ความเท่าเทียมระหว่างเพศ แต่ไม่สามารถแต่งกายตามเพศสภาพได้ ทำให้ยื่นขอบัตรประจำตัวข้าราชการไม่ได้ และฝ่ายนิติกร สำนักนายกรัฐมนตรี ได้ตอบไปว่าเป็นสิทธิพิเศษที่เหนือคนอื่น ทั้งที่การแต่งกายตามเพศสภาพ ไม่ใช่เป็นการแต่งกายเป็นผู้หญิง ถือเป็นความขัดแย้งของกฎหมายในประเทศไทยที่ขัดกันเอง จำเป็นต้องแก้ไข

ปัญหาที่เกิดขึ้นยังเกิดจากทัศนคติของคนในสังคม มี 2 ประเภท พวกแรกมีทัศนคติไม่ดีต่อหญิงข้ามเพศ ถูกตีตราเลือกปฏิบัติ กีดกันคนข้ามเพศ เพราะมีเพศสภาพเป็นกะเทย แต่บัตรประชาชนเป็นผู้ชาย จึงมองว่าวิปริตผิดเพศ สร้างปัญหาให้สังคม เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ใช้กฎหมายและออกระเบียบจำกัดสิทธิในการเข้าทำงาน ตามทัศนคติที่ปิดกั้นไม่ให้มีสิทธิเท่ากับชายหญิงทั่วไป

อีกพวกหนึ่งมีทัศนคติที่ดี เข้าใจทุกอย่าง แต่เมื่อไปดูกฎหมาย พบว่ามีปัญหา ไม่เอื้อต่อหญิงข้ามเพศ อย่างกรณีครูกอล์ฟ ที่โรงเรียนต้นสังกัดเปิดกว้างแต่ติดปัญหาที่สำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษาเขต 2 และคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี แต่ขณะเดียวกันสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหลายเขต กลับมีการอนุโลม อาจมาจากดุลพินิจของผู้บริหารที่ยอมปล่อยผ่าน ซึ่งกรณีครูกอล์ฟ ถูกเลือกปฏิบัติ ทั้งๆ ที่อื่นทำได้ และนับจากนี้ต้องสังฆกรรมกฎหมายที่ขัดแย้งกันเอง นำมาแก้ไขไม่ให้เก่าล้าสมัย

“ครูกอล์ฟ ลุกขึ้นมาสู้ ไม่ใช่เพื่อตัวเอง เคยแต่งตัวแบบผู้ชายมาทำงานมานาน 13 ปี แต่เมื่อเกิดเทรนด์ LGBT ลุกขึ้นมาต่อสู้ ทำให้ครูกอล์ฟ ลุกขึ้นมาแต่งหญิงเมื่อ 2 ปีหลัง แต่ก็ผ่านมาได้ อยู่ในดุลพินิจของผอ. กระทั่งเจอปัญหาบัตรข้าราชการ เพราะสพม. 2 ไม่มีดุลพินิจเดียวกับผอ.โรงเรียน และยังชงเรื่องการผ่าตัดแปลงเพศเพื่อช่วยเหลือครูกอล์ฟอีกด้วย ทำให้สมาคมฟ้าสีรุ้งฯ เขียนคำร้องไปยังคณะกรรมการวินิจฉัยการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ เพื่อนำเรื่องครูกอล์ฟไปสู่กระบวนการไต่สวน ในเรื่องสิทธิมนุษยชน สะท้อนความบกพร่องของราชการ”

เพื่อเดินหน้าแก้ไขกฎหมายให้สอดคล้องกัน ในหลายช่องทางจากกระแสของครูกอล์ฟในเรื่องการแต่งกายข้าราชการผิดวินัย โดยทางสมาคมฟ้าสีรุ้งฯ จะเข้าพบจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ และหลายหน่วยงานเกี่ยวข้อง เพื่อไม่ให้เกิดการเลือกปฏิบัติ

ข้าราชการต้องทำได้ สามารถแต่งกายตามเพศสภาพ

หากย้อนไปในปี 2563 ทางจุรินทร์ ได้ทำบันทึกข้อตกลงกับ 24 องค์กร และหน่วยงานรัฐ รัฐวิสาหกิจ สถาบันการศึกษาและภาคเอกชน ประกาศเจตนารมณ์ไม่เลือกปฏิบัติระหว่างเพศ ใน 6 เรื่อง อนุญาตให้แต่งกายตามเพศสภาพ จัดพื้นที่ที่เหมาะสมกับเพศภาวะ เช่น ห้องน้ำ การรับสมัครงาน ไม่นำลักษณะทางเพศมากำหนดคุณสมบัติผู้สมัคร ซึ่งมีกระทรวงศึกษาฯ เป็นหนึ่งในนั้นที่เซ็นบันทึกข้อตกลง ส่งไปสำนักการศึกษาทุกแห่ง ซึ่งการอนุโลมในบางพื้นที่ อาจมาจากบันทึกข้อตกลงดังกล่าว ตามหลักการของพ.ร.บ.ความเท่าเทียมระหว่างเพศฯ

แต่เพื่อให้ทุกอย่างเป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งหมดทั่วประเทศ เพื่อไม่ให้บุคคลข้ามเพศถูกเลือกปฏิบัติ ต้องมีกฎหมายรองรับเพศสภาพ รองรับอัตลักษณ์ตามเพศสภาพ ผู้หญิงเป็นชาย ผู้ชายเป็นหญิง ในการแต่งกายทั้งภาคเอกชนและภาครัฐ แม้มีการเปลี่ยนแปลงคำนำหน้านามเป็นผู้หญิงข้ามเพศ หรือผู้ชายข้ามเพศก็ตาม เพื่อไม่เกิดปัญหาในอนาคต และต้องมีกฎหมายการเปลี่ยนเพศ มารองรับ เพื่อให้ไทยเป็นสวรรค์ของ LGBT ของจริง ไม่ใช่จอมปลอม มีแต่เงื่อนไขทุกเรื่อง

ท้ายสุดกรณีครูกอล์ฟ น่าจะเป็นผลดี เนื่องจากโลกได้พัฒนาไปมาก และมีรัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายสูงสุดมารองรับ นั่นหมายความว่า ข้าราชการต้องทำได้ในการแต่งกายตามเพศสภาพ เพราะไม่เช่นนั้นแล้วจะถือเป็นการเลือกปฏิบัติซ้อนเลือกปฏิบัติ.

ผู้เขียน : ปูรณิมา

กราฟิก : sathit chuephanngam

Golf Sponsored
กอล์ฟ

กอล์ฟ (อังกฤษ: Golf) คือกีฬาหรือเกมประเภทบอลชนิดหนึ่ง ซึ่งผู้เล่นใช้ไม้หลายชนิดตีลูกบอลให้ลงหลุม จากกฎของกอล์ฟ ระบุว่า "กีฬากอล์ฟประกอบด้วยการเล่นลูกใดลูกหนึ่งด้วยไม้กอล์ฟจากแท่นตั้งทีไปลงหลุมโดยการสโตรคหนึ่งครั้งหรือหลายครั้งต่อเนื่องกันตามกฎข้อบังคับ" กอล์ฟเป็นหนึ่งในกีฬาประเภทบอลเพียงไม่กี่ชนิดที่ไม่มีอาณาเขตการเล่นที่แน่นอน (สนามกอล์ฟแต่ละแห่งสามารถมีรูปร่างและขนาดต่างกัน)

This website uses cookies.