เปิด พ.ร.บ.การสาธารณสุข ปมสนามไดรฟ์กอล์ฟครอบครัวลีเดีย ทำลูกกอล์ฟตกใส่บ้านคน ชี้ชัดเจ้าพนักงานสั่งปิดได้ หากไม่แก้ไข
จากกรณีประชาชนโพสต์ข้อความร้องเรียนเกี่ยวกับปัญหาลูกกอล์ฟจากสนามไดรฟ์กอล์ฟ เกียรติธาดา (Kiatthada Golf Range) ย่านลาดพร้าว ตกใส่บ้านเรือนได้รับความเสียหาย เป็นอันตรายกับสวัสดิภาพผู้อยู่อาศัย โดยประสบปัญหาดังกล่าวเป็นเวลานานนับ 10 ปี ไม่ได้รับการแก้ไข
กรณีดังกล่าวเชื่อมโยงไปยัง ลีเดีย ศรัณย์รัชต์ นักร้องชื่อดังได้ออกมาชี้แจงกรณีดังกล่าวว่า สนามกอล์ฟเคยเป็นธุรกิจของครอบครัวจริง แต่ “เซ้งธุรกิจต่อให้คนอื่นมาดูแลบริหาร ครอบครัวของเราไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการบริหารธุรกิจสนามกอล์ฟโดยสิ้นเชิง” พร้อมกับระบุว่าจะดำเนินคดีกับผู้ที่นำชื่อตนไปแอบอ้าง
คลิกอ่าน ลิเดีย ศรัณย์รัชต์ แจงเหตุดราม่าสนามไดร์ฟกอล์ฟ ยัน เซ้งธุรกิจต่อให้คนอื่นแล้ว หากแอบอ้างจะดำเนินคดี
อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบกับกรมธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ จะพบว่าชื่อผู้บริหารกลับเป็นพ่อแม่ และน้องชายแท้ๆ ของลีเดีย ศรัณย์รัชต์ ซึ่งก็คือ นายไชยยันต์ วิสุทธิธาดา, นางสาวศันสนีย์ วนะไชยเกียรติ และนายชญานนท์ วิสุทธิธาดา
คลิกอ่าน เปิดชื่อกรรมการบริหารบริษัท เกียรติธาดา ปมลูกกอล์ฟตกใส่บ้านคน พบเป็นพ่อ-แม่-น้องชายนักร้องดัง
ก่อนที่ล่าสุด ”บิ๊กฮง” สุนทร จารุมนต์ นายกสมาคม
คลิกอ่าน เฮียฮง รับบริหารสนามไดร์ฟ “เกียรติธาดา” กับพ่อลิเดีย ยันปรับปรุงแล้ว ชี้ภาพบ้านเสียหายเป็นรูปเก่า
ล่าสุดผู้สื่อข่าวได้สืบค้นข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเผชิญเหตุเดือดร้อนรำคาญ เพื่อเป็นอุทาหรณ์ให้กับประชาชนทั่วไปที่อาจประสบปัญหาความเดือดร้อนลักษณะเดียวกันโดยมีคู่กรณีเป็นบริษัทเอกชน โดยลักษณะดังกล่าวเข้าขายข้อกฎหมายพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 ในหมวดที่ 5 ซึ่งระบุเอาไว้ว่าหาก เหตุเดือดร้อนรำคาญกับประชาชนที่เกิดขึ้นจากเอกชนไม่ได้รับการแก้ไขเจ้าพนักงานท้องถิ่นสามารถออกคำสั่งเป็นหนังสือสั่งปิดกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนได้จนกว่าจะมีการระงับเหตุอันสร้างความเดือดร้อนรำคาญ นั่นหมายความว่าผู้เดือดร้อนสามารถร้องเรียนกับสำนักงานเขตในท้องที่ที่อาศัยอยู่ได้
โดยพระราชบัญญัติ หมวดที่ 5 ว่าด้วย เหตุรำคาญ มาตรา 26 ระบุเอาไว้ว่า ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจห้ามผู้หนึ่งผู้ใดมิให้ก่อเหตุรำคาญในที่หรือทางสาธารณะหรือสถานที่เอกชนรวมทั้งการระงับเหตุรำคาญด้วย ตลอดทั้งการดูแล ปรับปรุง บำรุงรักษา บรรดาถนนทางบก ทางน้ำ รางระบายน้ำ คูคลอง และสถานที่ต่างๆ ในเขตของตนให้ปราศจากเหตุรำคาญ ในการนี้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือเพื่อระงับ กำจัดและควบคุมเหตุรำคาญต่างๆ ได้
มาตรา 27 ในกรณีที่มีเหตุรำคาญเกิดขึ้นหรืออาจเกิดขึ้นในที่หรือทางสาธารณะ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้บุคคลซึ่งเป็นต้นเหตุหรือเกี่ยวข้องกับการก่อหรืออาจก่อให้เกิดเหตุรำคาญนั้น ระงับหรือป้องกันเหตุรำคาญภายในเวลาอันสมควรตามที่ระบุไว้ในคำสั่ง และถ้าเห็นสมควรจะให้กระทำโดยวิธีใดเพื่อระงับหรือป้องกันเหตุรำคาญนั้น หรือสมควรกำหนดวิธีการเพื่อป้องกันมิให้มีเหตุรำคาญเกิดขึ้นอีกในอนาคต
ให้ระบุไว้ในคำสั่งได้ในกรณีที่ปรากฏแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นว่าไม่มีการปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามวรรคหนึ่ง และเหตุรำคาญที่เกิดขึ้นอาจเกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นระงับเหตุรำคาญนั้น และอาจจัดการตามความจำเป็นเพื่อป้องกันมิให้เกิดเหตุ รำคาญนั้นขึ้นอีก โดยบุคคลซึ่งเป็นต้นเหตุหรือเกี่ยวข้องกับการก่อหรืออาจก่อให้เกิดเหตุรำคาญต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายสำหรับการจัดการนั้น
มาตรา 28 ในกรณีที่มีเหตุรำคาญเกิดขึ้นในสถานที่เอกชน ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองสถานที่นั้นระงับเหตุรำคาญภายในเวลาอันสมควรตามที่ระบุไว้ในคำสั่งและถ้าเห็นว่าสมควรจะให้กระทำโดยวิธีใดเพื่อระงับเหตุรำคาญนั้น หรือสมควรกำหนดวิธีการเพื่อป้องกันมิให้มีเหตุรำคาญเกิดขึ้นในอนาคต ให้ระบุไว้ในคำสั่งได้ในกรณีที่ไม่มีการปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามวรรคหนึ่ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจระงับเหตุรำคาญนั้นและอาจจัดการตามความจำเป็นเพื่อป้องกันมิให้มีเหตุรำคาญเกิดขึ้นอีก และถ้าเหตุรำคาญเกิดขึ้นจากการกระทำ การละเลย หรือการยินยอมของเจ้าของหรือผู้ครอบครองสถานที่นั้น เจ้าของหรือผู้ครอบครองสถานที่ดังกล่าวต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายสำหรับการนั้น
ในกรณีที่ปรากฏแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นว่าเหตุรำคาญที่เกิดขึ้นในสถานที่เอกชนอาจเกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพ หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะออกคำสั่งเป็นหนังสือห้ามมิให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองใช้หรือยินยอมให้บุคคลใดใช้สถานที่นั้นทั้งหมดหรือบางส่วน จนกว่าจะเป็นที่พอใจแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นว่าได้มีการระงับเหตุรำคาญนั้นแล้วก็ได้
มาตรา 28/1(20)
เมื่อปรากฏว่ามีเหตุรำคาญเกิดขึ้นตามมาตรา 27 หรือมาตรา 28 เป็นบริเวณกว้างจนก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของสาธารณชน ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจประกาศกำหนดให้บริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่ควบคุมเหตุรำคาญ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยคำแนะนำของคณะกรรมการ และประกาศในราชกิจจานุเบกษา
การระงับเหตุรำคาญตามวรรคหนึ่ง และการจัดการตามความจำเป็นเพื่อป้องกันมิให้มีเหตุรำคาญนั้นเกิดขึ้นอีกในอนาคต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด ในกรณีที่เหตุรำคาญตามวรรคหนึ่งได้ระงับจนไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของสาธารณชนแล้วให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศยกเลิกพื้นที่ควบคุมเหตุรำคาญนั้นโดยไม่ชักช้า
อ่านพรบ.สาธารณสุขพ.ศ. 2535 คลิก