Golf Sponsored

เปิดประวัติ ยงยุทธ วิชัยดิษฐ อดีตรองนายกฯ 1 ในขุนพลคู่ใจ “ยิ่งลักษณ์”

Golf Sponsored
Golf Sponsored

อย่างไรก็ตามต่อมา นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร ส.ส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย ได้แถลงข่าวยืนยันแทน นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ เมื่อวานว่า ไม่ใช่รองนายกฯ ของพรรคเพื่อไทยรายดังกล่าวที่มีข่าวอย่างแน่นอน  

ส่วนจะเป็น รองนายกฯคนไหนในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ก็คงต้องลอง “ล้วง แคะ แกะ เกา” จากเบาะแสที่ ทนายษิทธา เบี้ยบังเกิด บอกใบ้เอาไว้ในการแถลงข่าว   

“อดีตรองนายกฯ คนนี้ เกี่ยวข้องกับกระทรวงมหาดไทย แต่จะเกี่ยวข้องยังไงก็ต้องไปทำการบ้านกันต่อด้วย และชอบตีกอล์ฟ รวมถึงไม่มียศทางตำรวจ อายุมากแล้ว ส่วนอักษรย่อ “ย.” ก็แปลความหมายได้หลายอย่าง

อีก 1-2 เดือนจะขึ้นศาลแล้ว ก็เปิดเผยได้ว่าตนไปขึ้นศาลกับใคร ซึ่งลูกความตนมีหลักฐานชัดเจน ไม่ว่าเขาจะออกมาโกหกอย่างไร ก็ดูเป็นคนไม่น่าเชื่อถือแล้ว แต่คนคนนี้ไม่เกี่ยวข้องกับพรรคเพื่อไทยมาตั้งแต่ปี 2561 และเรื่องนี้เกิดขึ้น หลังจากที่ออกจากพรรคเพื่อไทยมาแล้ว ซึ่งตอนนี้ก็ไม่มีตำแหน่งทางการเมือง รวมถึงไม่เกี่ยวข้องกับพรรคการเมืองแล้วด้วย”ทนายษิทธา กล่าว…

เช็กรายชื่อ “อดีตรองนายกรัฐมนตรี” ในประเทศไทย ยุครัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

• นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง 
เคยดำรงตำแหน่ง รองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
• พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ 
เคยดำรงตำแหน่ง รองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
• ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง 
เคยดำรงตำแหน่ง รองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
• นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล 
เคยดำรงตำแหน่ง รองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
• นายปลอดประสพ สุรัสวดี
เคยดำรงตำแหน่ง รองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
 

• พลตำรวจเอก ประชา พรหมนอก 
เคยดำรงตำแหน่ง รองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
• นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา
เคยดำรงตำแหน่ง รองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
• นายสัตวแพทย์ ยุคล ลิ้มแหลมทอง 
เคยดำรงตำแหน่ง รองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
• พลเอก ยุทธศักดิ์ ศศิประภา
เคยดำรงตำแหน่ง รองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
• นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ 
เคยดำรงตำแหน่ง รองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

เคยเป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ระบบบัญชีรายชื่อ และอดีตหัวหน้าพรรคเพื่อไทย อดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย อดีตอธิบดีกรมที่ดิน อดีตประธานกรรมการการไฟฟ้านครหลวง อดีตประธานกรรมการการประปานครหลวง อดีตประธานกรรมการตรวจสอบของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล และอดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย 2 สมัย

นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ เกิดเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ.2485 ที่อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นบุตรคนที่สองของ สำรวม (บิดา) และพิณพาทย์ (มารดา; เสียชีวิตแล้ว) ในจำนวนพี่น้อง 7 คน

เมื่อเกษียณอายุราชการแล้ว นายยงยุทธ เริ่มเข้าสู่งานการเมืองด้วยการเป็นกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธารณสุข (สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์) เมื่อ 18 มีนาคม พ.ศ.2546 และวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ.2547 จากนั้นเป็นประธานกรรมการการไฟฟ้านครหลวง เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ.2548 และประธานกรรมการกำกับดูแลกิจการไฟฟ้า เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ.2548, ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2551 และที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ) เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ.2551

ต่อมาในวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ.2551 พรรคเพื่อไทยจัดประชุมใหญ่วิสามัญ ครั้งที่ 4/2551 ลงมติเลือก นายยงยุทธ ซึ่งขณะนั้นรักษาการในตำแหน่งรองหัวหน้าพรรค ขึ้นเป็นหัวหน้าพรรคเพื่อไทย โดยเมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ.2553 เขาประกาศลาออกจากตำแหน่งนี้ โดยให้เหตุผลเพื่อปรับโครงสร้างพรรค ก่อนการเลือกตั้งทั่วไป แต่ภายหลังสมาชิกพรรคลงคะแนนให้ นายยงยุทธ กลับมาดำรงตำแหน่งอีกครั้ง
นายยงยุทธ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในประเภทบัญชีรายชื่อของพรรคเพื่อไทย เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2554 และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในเวลาต่อมา ระหว่างดำรงตำแหน่งอยู่นั้น เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2554 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานเลื่อนยศแก่นายยงยุทธ จาก “นายกองเอก” ให้เป็นที่ “นายกองใหญ่” ประจำกองอาสารักษาดินแดน เมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ.2555

นายยงยุทธ ประกาศลาออกจากตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และหัวหน้าพรรคเพื่อไทย เนื่องจาก อ.ก.พ.กระทรวงมหาดไทย ลงมติให้ไล่ออกจากราชการ จึงมีผลกระทบต่อคุณสมบัติทางการเมืองส่วนบุคคลของนายยงยุทธ ซึ่งอาจจะมีผลกระทบต่อการทำงานของรัฐบาล ทั้งอาจส่งผลทางการเมืองต่อพรรคเพื่อไทย โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน

ชี้มูลความผิด รับรองการซื้อขายที่ดิน ไล่ออกจากรักษาการปลัดกระทรวง

 28 กันยายน พ.ศ.2555 หลังมติของคณะอนุกรรมการข้าราชการพลเรือน (อ.ก.พ.) กระทรวงมหาดไทย สอดคล้องกับคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ชี้มูลความผิดให้ “ไล่ออก” จากราชการ กรณีเป็นรักษาการปลัดกระทรวง แล้วปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ในการลงนาม “รับรองการซื้อขายที่ดิน” จำนวน 732 ไร่ ระหว่างวัดธรรมิการามวรวิหาร กับบริษัท อัลไพน์กอล์ฟ เรียลเอสเตท จำกัด และบริษัท อัลไพน์กอล์ฟสปอร์ตคลับ จำกัด ซึ่งมี นางอุไรวรรณ เทียนทอง, นายวิทยา เทียนทอง และ นายชูชีพ หาญสวัสดิ์ พี่ชายของ นายชูชาติ หาญสวัสดิ์ รมช.มหาดไทย คนปัจจุบัน เป็นผู้ถือหุ้น ให้ถูกต้องตามกฎหมาย

ต่อมาที่ดินดังกล่าวก็ถูกขายทอดราคา 500 ล้าน ให้กับผู้ซื้อชื่อ คุณหญิงพจมาน ชินวัตร เมื่อปี 2540 แต่ที่ดินผืนดังกล่าวเคยเป็นของ “นางเนื่อม ชำนาญชาติศักดา” ซึ่งบริจาคให้แก่วัดธรรมิการามฯ จึงถือว่าเป็นที่ธรณีสงฆ์ ไม่สามารถซื้อขายได้

ขาดคุณสมบัติการเป็นรัฐมนตรี

ต่อมาฝ่ายค้านในขณะนั้น ที่นักการเมืองในพรรคประชาธิปัตย์ ประเมินว่า กรณีของ ‘ยงยุทธ’ ไม่เข้าข่ายได้รับการล้างมลทิน ตามความใน พ.ร.บ.ล้างมลทิน เพราะ ‘ยงยุทธ’ ยังไม่ได้รับโทษแต่อย่างใด และ “ขาดคุณสมบัติการเป็นรัฐมนตรี และ ส.ส.” ทั้งนี้ หากศาลพิจารณาถึงที่สุด นายยงยุทธ อาจพ้นจากตำแหน่ง และอาจต้องถูกเว้นวรรคทางการเมือง 5 ปี ตามรอย 3 อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ต้องอาญาศาลรัฐธรรมนูญ ทั้ง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร, นายสมัคร สุนทรเวช และ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ 

ต่อมา พรรคประชาธิปัตย์ จึงอาศัยข้อกฎหมาย 3 ประเด็น ดำเนินการกับยงยุทธ คือ 1.ผู้ตรวจการแผ่นดิน 2.คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) 3.ศาลรัฐธรรมนูญ เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 102 (6) ที่ระบุว่า เป็นบุคคลที่เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจเพราะทุจริตต่อหน้าที่ หรือถือว่ากระทำการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ ต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิ์สมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส. และรัฐธรรมนูญมาตรา 174  เรื่องคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของคนที่จะมาเป็นรัฐมนตรี ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวใช้ถ้อยคำเดียวกับมาตรา 102 (6)

ภารกิจครอบจักรวาล งานมหาดไทย

ชื่อ นายยงยุทธ ปรากฏเป็นหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ตั้งแต่วันแรกๆ ที่จดทะเบียนพรรค แต่กลับมีชื่อเป็นลำดับ 2 ในระบบ ส.ส.บัญชีรายชื่อ โดยมี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่ลงเล่นการเมืองเพียง 45 วัน นั่งเก้าอี้ลำดับที่ 1 อย่างไรก็ตาม หลังเลือกตั้ง “ทักษิณ” ให้รางวัลเป็นน้ำใจ โดยการครอบครอง 2 ตำแหน่ง เป็นเบอร์ 2 ที่ทำเนียบรัฐบาล และเป็นเบอร์ 1 ที่กระทรวงมหาดไทย จึงเห็นได้ชัดว่าทุกภารกิจของยิ่งลักษณ์มี ยงยุทธ เป็นวอลเปเปอร์ เพราะภารกิจ 2 ตำแหน่งนี้จะ “ครอบจักรวาล” ทำทุกอย่างช่วยเหลือพรรค 

ซึ่งงานที่ได้รับมอบหมายเมื่อปลายปี 2554 คือ ภารกิจการแก้ปัญหาน้ำท่วม แต่ยงยุทธกลับไม่เคลื่อนไหวปฏิบัติการ สุดท้ายถูกปลด ยกตำแหน่งให้นายตำรวจฝีมือระดับ รมว.ยุติธรรม จากนั้นเขาถูกมอบหมายงานร้อนอีกเรื่อง คือ รับไม้ต่อจากคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อความปรองดองแห่งชาติ (คอป.) เพื่อนำข้อเสนอระดับนโยบายลงสู่ระดับการปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม

เหตุนี้เองชื่อ ยงยุทธ จึงถูกเชิดเป็น ประธานคณะกรรมการประสานและติดตามผลการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะของ คอป. ซึ่งเป็นความหวังของนักโทษเสื้อแดงทั่วประเทศ

ปี 2562 ศาลอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คดีทุจริตที่ดินสนามกอล์ฟอัลไพน์

28 ก.พ. 62 – ที่ห้องพิจารณาคดี 4 ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติชอบกลาง ถ.นครไชยศรี ศาลอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คดีทุจริตที่ดินสนามกอล์ฟอัลไพน์ หมายเลขดำ อท.38/2559 ที่ ป.ป.ช.เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ อายุ 77 ปี อดีตหัวหน้าพรรคเพื่อไทย เป็นจำเลยในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ หรือทุจริต หรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157

กรณีระหว่างที่ นายยงยุทธ จำเลย ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวงมหาดไทย รักษาราชการแทนปลัดกระทรวงมหาดไทย ได้ใช้ตำแหน่งอำนาจหน้าที่โดยมิชอบในการพิจารณาอุทธรณ์ และสั่งเพิกถอนคำสั่งของอธิบดีกรมที่ดิน โดยมีเจตนาช่วยเหลือ บริษัท อัลไพน์เรียลเอสเตท จำกัด, บริษัท กอล์ฟ แอนด์ สปอร์ตคลับ จำกัด และผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินในเวลาต่อมา ให้ได้รับประโยชน์โดยมิชอบด้วยกฎหมาย จำเลยปฏิเสธ

ศาลชั้นต้น มีคำพิพากษาจำคุก 2 ปี โดยไม่รอลงอาญา

คดีนี้ศาลอาญาคดีทุจริตฯ ซึ่งเป็นศาลชั้นต้น มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 29 ส.ค. 2559 เห็นว่าการที่ นายยงยุทธ จำเลย พิจารณาอุทธรณ์ และมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งของอธิบดีกรมที่ดิน ซึ่งให้ยกเลิกโฉนดที่ดินที่จดทะเบียนในนาม ‘สนามกอล์ฟอัลไพน์’ อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี ซึ่งเป็นธรณีสงฆ์ จากการที่ นางเนื่อม ชำนาญชาติศักดา ที่ถึงแก่ความตายแล้วได้ทำพินัยกรรมยกที่ดิน 2 แปลงดังกล่าวให้แก่วัดธรรมิการามวรวิหารนั้น จำเลยออกคำสั่งโดยมิชอบ โดยจงใจละเลยข้อเท็จจริงต่างๆ และยังจงใจตีความกฎหมายให้ผิดเพี้ยนไปจากความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 28 ก.พ. 2482 ที่ระบุให้กระทรวงถือปฏิบัติตามความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา

ดังนั้น คำสั่งของนายยงยุทธ จำเลยจึงเป็นการใช้ดุลพินิจโดยไม่ชอบ ถือเป็นการแสวงหาประโยชน์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายแก่ผู้อื่น และก่อให้เกิดความเสียหายแก่วัดธรรมิการามวรวิหาร ทั้งยังทำลายศรัทธาของผู้ที่เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา จำเลยจึงมีความผิดตามฟ้อง พิพากษาจำคุก 2 ปี โดยไม่รอลงอาญา ต่อมา นายยงยุทธ จำเลยได้รับอนุญาตให้ประกันตัวระหว่างอุทธรณ์ โดยศาลตีราคาประกัน 5 แสนบาท
ฟังคำพิพากษา สีหน้าเรียบเฉย พร้อมทนายความและบุคคลใกล้ชิด

ศาลอุทธรณ์ พิเคราะห์พยานหลักฐานแล้วเห็นว่า การที่จำเลยขณะดำรงตำแหน่งรักษาการปลัดมหาดไทย แล้วมีคำสั่งให้เพิกถอนมติอธิบดีกรมที่ดินเรื่องที่ดินอัลไพน์เป็นที่ธรณีสงฆ์นั้น โดยไม่นำความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาซึ่งมีแนวทางวินิจฉัยไว้แล้วมาพิจารณาประกอบเป็นการปฏิบัติหน้าที่มิชอบและโดยทุจริต ทั้งที่แนวทางปฏิบัติเมื่อคณะกรรมการกฤษฎีกามีความเห็นมาแล้วฝ่ายบริหารจะให้หน่วยราชการยึดถือปฏิบัติธรรมเพื่อการบริหารราชการแผ่นดินในมาตรฐานทางเดียวกัน เพราะมิเช่นนั้นในแต่ละยุคสมัยจะมีความเห็นต่างกันสร้างความเสียหายแก่ระบบบริหารราชการแผ่นดินได้

ส่วนที่จำเลยอ้างว่า คำสั่งของจำเลยนั้นได้ยึดถือตามแนวทางเสียงข้างมากของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ของมหาดไทย ซึ่งเป็นการออกคำสั่งทางปกครองที่จำเลยในฐานะรักษาการปลัดกระทรวงมหาดไทยก็สามารถทำได้นั้น ศาลเห็นว่าคณะกรรมการดังกล่าวก็เกิดขึ้นโดยคำสั่งที่จำเลยแต่งตั้งเองขณะที่การบริหารราชการแผ่นดินนั้น ความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาจะผูกพันหน่วยงานราชการด้วยตามแนวทางมติของ ครม.

และที่จำเลยอ้างว่า ไม่แน่ว่าถ้ายื่นข้อทักท้วงให้กฤษฎีกา การที่จำเลยอ้างว่าไม่ได้ส่งกฤษฎีกาแล้วจะรับไว้พิจารณาหรือไม่นั้น ก็ยังไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เคยยื่นข้ออ้างดังกล่าว ทั้งที่ในทางปฏิบัติหากจำเลยเห็นว่าความเห็นของกฤษฎีกานั้นจะไม่ชอบ ก็สามารถที่จะยื่นให้ทบทวนได้ กรณีที่จำเลยอ้างจึงฟังไม่ขึ้นนั้นและขัดต่อหลักเหตุผล

ลงโทษสถานหนัก เกิดความเสียหายต่อกรมที่ดิน อาจจะถูกฟ้องเป็นเงินหลายล้าน

ขณะที่ในช่วงปี 2545 ปรากฏข้อเท็จจริงว่าภายหลัง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ได้ซื้อสนามกอล์ฟอัลไพน์ต่อจาก นายเสนาะ เทียนทอง ซึ่งหลังจากนั้นก็พบว่าจำเลยได้รับดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงมหาดไทยจนเกษียณราชการ และยังได้รับตำแหน่งทางการเมืองต่างๆ ในยุครัฐบาลนายทักษิณ

ส่วนที่ ป.ป.ช. ขอให้ลงโทษสถานหนักเพราะการกระทำของจำเลยทำให้เกิดความเสียหายต่อกรมที่ดินเป็นอย่างมาก และอาจจะทำให้ถูกฟ้องเป็นเงินหลายล้านนั้น ศาลเห็นว่าตามทางนำสืบขณะนี้ก็ยังไม่ปรากฏว่ามีการฟ้องคดีเกิดขึ้น ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำคุกจำเลย 2 ปี โดยไม่รอลงอาญานั้นเหมาะสมแล้ว อุทธรณ์ของจำเลยฟังไม่ขึ้น พิพากษายืน

ผู้เขียน: เดชจิวยี่ 

กราฟิก: Anon Chantanant

Golf Sponsored
กอล์ฟ

กอล์ฟ (อังกฤษ: Golf) คือกีฬาหรือเกมประเภทบอลชนิดหนึ่ง ซึ่งผู้เล่นใช้ไม้หลายชนิดตีลูกบอลให้ลงหลุม จากกฎของกอล์ฟ ระบุว่า "กีฬากอล์ฟประกอบด้วยการเล่นลูกใดลูกหนึ่งด้วยไม้กอล์ฟจากแท่นตั้งทีไปลงหลุมโดยการสโตรคหนึ่งครั้งหรือหลายครั้งต่อเนื่องกันตามกฎข้อบังคับ" กอล์ฟเป็นหนึ่งในกีฬาประเภทบอลเพียงไม่กี่ชนิดที่ไม่มีอาณาเขตการเล่นที่แน่นอน (สนามกอล์ฟแต่ละแห่งสามารถมีรูปร่างและขนาดต่างกัน)

This website uses cookies.