รวมคำศัพท์ที่คนไทยมักเขียนผิด และวิธีตรวจสอบว่าเขียนถูกหรือไม่

  ประเทศไทยของเรานั้น มีภาษาที่ใช้ทางการ คือ ภาษาไทย ซึ่งเป็นภาษาที่มีมาตั้งแต่ต้นสมัยสุโขทัย โดยพ่อขุนรามคำแหง ผู้ประดิษฐ์อักษรไทย แต่พอผ่านมาก็มีการเปลี่ยนแปลงของวิธีสะกดคำ การอ่านออกเสียง และความหมาย ทำให้ในปัจจุบันมีผู้ที่เขียนคำศัพท์ผิดๆ ถูกๆ อยู่มากมาย ในฐานะที่เป็นนักเขียนชาวไทยจึงขอนำเสนอ

150 คำศัพท์ที่คนไทยมักเขียนผิด

*** คำศัพท์ทั้งหมดอ้างอิงความถูกต้องจากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 จากเว็บไซต์ https://dictionary.orst.go.th/ ซึ่งเป็นเว็บไซต์ของราชบัณฑิตยสถาน ***คำศัพท์ที่คนไทยมักเขียนผิด

สับปะรด  สาเหตุ  สังเกต  กะเพรา  กระเพาะ  เกม  กะเทย  ขะมักเขม้น  ขาดดุล  ทแยง  จักจั่น  เซ็นชื่อ  ไม้จันทน์  ตำรับ  ดำรง  ชะลอ  เดินจงกรม  ไต้หวัน  ไต้ฝุ่น  ถนนลาดยาง  ทยอย  ทะนุถนอม  นะคะ  นานา (ไม่ใช้ “ๆ”)  เบรก  สมเพช  เบญจเพส  ไผท  เค้ก  คุกกี้  บำเหน็จ  ศีรษะ  อนุญาต  อัญชัน คำนวณ  สังเขป  ประณีต  ประดิดประดอย  กิจลักษณะ  ขึ้นฉ่าย  กฎหมาย  มงกุฎ  ขันชะเนาะ  ซ่าหริ่ม  คริสตกาล  คริสต์ศักราช  วารดิถี  กะพง  พะแนง  ถั่วพู  ซุบหน่อไม้  จะละเม็ด  ผัดวันประกันพรุ่ง  มัคคุเทศก์  เจียระไน  กะทันหัน  แกงบวด  วิ่งเปี้ยว  ไข่มุก  มุกตลก  ปรากฏ  คทา  ทูต  หล่อเท่  นานัปการ  ผูกพัน  กระทะ  ผัดไทย  จัตุรัส  น้ำแข็งไส  เจดียสถาน  เจตนารมณ์  ปราดเปรื่อง  กฐิน  กอล์ฟ  กะละแม  คำกริยา  กิริยามารยาท  ช็อกโกแลต  สนนราคา  สไบ  สตรอว์เบอร์รี  นกปรอด  ปรอทวัดไข้  หน้าหนาว/ร้อน/ฝน  หน้าตา  น่ารัก  ธำมรงค์  นภดล (มักเขียนว่า “นพดล” ซึ่งเป็นชื่อคน)  บัญญัติ  ไตรยางศ์  ไตรสิกขา  บังเอิญ  ทรราช  ทะ/ทำนุบำรุง  ทระ/ทะนง  ตานขโมย  ขโมย  ไดรฟ์  ดาวน์โหลด  ดำริ  ดอกจัน (*)  ฌาปนกิจ  เปียกโซม  ทรุดโทรม  ซีรี่ส์  แซ่บ  ไช/ไช้โป๊  พระชนมพรรษา  ไฉน  โจทก์ (ผู้ฟ้องร้องในศาลกล่าวหาจำเลย)  โจทย์เลข  งูสวัด  เฆี่ยนตี  โควตา  คอลัมน์  โคตร  ครองราชย์  ครองราชสมบัติ  กบฏ  ขบถ  แก๊ง  กาฬสินธุ์  สายสิญจน์  กำเหน็จ  กีฬากรีฑา  กรีธาทัพ  พระกระยาหาร  กรรมกร (ผู้ถูกใช้แรงงาน)  กรรมกรณ์ (อาญา)  แมงกะพรุน  กะพริบตา  เกษียณ  เกสร  ข้าวเหนียวมูน  คฤหาสน์  คลินิก  กระยาสารท  อินทผลัม  สดุดี  ดุษฎี  ชะมด  ซาวเสียง  เป็ดไซ้ขน  ไซร้  ทูนหัว  ทูลกระหม่อม  โน้ต  บาดทะยัก  บิณฑบาต  น้ำมันเบนซิน  แบงก์  ปฏิกิริยา  ปฏิทิน  ประมาณ  ประเมิน  พราหมณ์

5 วิธีตรวจสอบว่าคำศัพท์ที่เขียนถูกหรือผิด

วิธีตรวจสอบว่าคำศัพท์ที่เขียนถูกหรือไม่

1.นำคำศัพท์ไปเสิร์ชในเว็บไซต์ ราชบัณฑิตยสถาน ได้ทั้งในคอมพิวเตอร์และมือถือ

2.นำคำศัพท์ไปเสิร์ชในแอปพลิเคชัน พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ๕๔ หรือพิมพ์ภาษาอังกฤษว่า Royal Society ได้ทั้งใน iOS และ Android

3.เสิร์ช Google ว่า “คำศัพท์ที่คนไทยมักเขียนผิด” แล้วลองศึกษาค้นหาดูว่ามีคำศัพท์ที่คุณเขียนอยู่หรือไม่

4.สมมุติว่าคุณกำลังจะพิมพ์คำว่า “ประดิษฐ์ประดอย” แต่คุณสงสัยว่าคำที่คุณเขียนถูกหรือไม่ ก็ให้คุณพิมพ์ว่า “ประดิษฐ์ประดอย เขียนถูกหรือไม่” หรือ “ประดิษฐ์ประดอย เขียนอย่างไร” ใน Google แล้วจะมีข้อมูลต่างๆ ขึ้นมา ลองศึกษาอ่านและเปลี่ยนวิธีเขียนใหม่

5.สามารถพิมพ์คำศัพท์นั้นในเว็บไซต์พจนานุกรมต่างๆ เช่น  Longdo แต่ความน่าเชื่อถือจะน้อยกว่า  ราชบัณฑิตยสถาน

การใช้ภาษาไทยที่เราพูดและเขียนกันอยู่ทุกวันอย่างถูกต้องเป็นเรื่องที่ดี เพราะถือว่าเป็นการสืบทอดวัฒนธรรมไทยด้านภาษาต่อไปได้ในรุ่นลูกรุ่นหลาน และประเทศไทยก็จะมีภาษาเป็นของตนเองไปเรื่อยๆ ในอนาคต

*** ย้ำอีกครั้ง คำศัพท์ทั้งหมดอ้างอิงโดยพจนานุกรฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 แต่ยังคงเป็นในรูปแบบของปี พ.ศ.2554 และในปัจจุบันก็มีคำศัพท์เพิ่มเติมแต่เพียงไม่ได้บัญญัติในพจนานุกรมของปีก่อนๆ แต่มีเขียนไว้ใน Facebook : สำนักงานราชบัณฑิตยสภา ***สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

Credit รูปภาพที่ 1, 2, 3 โดยนักเขียน / 4 โลโก้สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !