เมืองพัทยาแก้ปัญหาสนามกีฬาภาคตะวันออก

วันพุธ ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2565, 23.27 น.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาพร้อมร่วมกับเมืองพัทยาแก้ไขปัญหาโครงการก่อสร้างสนามกีฬาแห่งชาติภาคตะวันออกล่าช้าที่ดำเนินการ 15 ปีไม่มีความคืบหน้าให้เสร็จสิ้นภายในปี 2งบประมาณสืบเนื่องจากเกิดปัญหาการก่อสร้างสนามกีฬาภาคตะวันออก เมืองพัทยา จ.ชลบุรี ที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ปี 2551 ภายใต้แนวคิดของคณะผู้บริหารเมืองพัทยาภายใต้การนำของ นายอิทธิพล คุณปลื้ม นายกเมืองพัทยาในสมัยนั้น ที่ต้องการพัฒนาพื้นที่ 371 ไร่ที่ถนนชัยพฤกษ์ ตำบลห้วยใหญ่ อำเภอบางละมุงจังหวัดชลบุรีให้พัฒนาเป็นศูนย์รวมการแข่งขันกีฬาทั้งในระดับท้องถิ่น และระดับประเทศที่มีมาตรฐานสากลจึงขออนุมัติจัดสรรงบประมาณจากภาครัฐผ่านกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวน 774 ล้านบาทมีแผนก่อสร้างในระหว่างปีงบประมาณ 2551 – 2560 รวม10ปีนั้น

ทางด้านชาวพัทยารายหนึ่งได้เผยว่า แผนสร้างสนามกีฬาภาคตะวันออกนี้ริเริ่มสมัยนายสนธยา  คุณปลื้มได้เข้ามาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาคนแรกของไทยเมื่อ20ปีที่แล้วในปี 2545 เดิมจะใช้งบประมาณจากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาสร้างสนามกีฬามาตรฐานที่จุคนดุได้ประมาณ 12,000 ที่นั่งผ่านทางการกีฬาแห่งประเทศไทยเพราะจังหวัดชลบุรีมีประชากรมากและเป็นแหล่งอุตสาหกรรมภาคตะวันออก  ในตัวจังหวัดมี 2 สนามกีฬาคือสนามของอบจ.ที่ชายทะเลอำเภอเมืองจังหวัดชลบุรีกับสนามกีฬาของมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติวิทยาเขตชลบุรีแต่ที่เมืองพัทยามีเฉพาะสนามกีฬาในร่มสนามกลางแจ้งยังไม่มี ปัจจุบันมีสนามของภาคเอกชน 1 สนามที่รวมกับสนามกอล์ฟเป็นของตระกูลจึงรุ่งเรืองกิจ  


ต่อมาเมื่อนายอิทธิพล  คุณปลื้มที่ขณะนี้เป็นรัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรมนั้นได้เข้ามาเป็นนายกเมืองพัทยาในปี2550 ได้นำเอาแผนการสร้างสนามกีฬามาจัดการใหม่โดยใช้งบประมาณจากกระทรวงมหาดไทยแทนกระทรวงการท่องเที่ยวฯมีแผนระยะยาว10ปีงบประมาณระหว่างปี 2551ถึง2560 ใช้เงิน2ส่วนคือเงินสนับสนุนของกรมสนับสนุนการปกครองท้องถิ่นกับเงินสะสมของเมืองพัทยาเองสร้างสนามนี้ ปัจจุบันผ่านมา15ปี โครงการนี้กลับทำได้ไม่สำเร็จ

เพราะไม่เพียงโครงการนี้จะถูกปล่อยทิ้งร้าง อุปกรณ์ภายในอาคาร รวมทั้งอุปกรณ์ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ สุขภัณฑ์ ครุภัณฑ์ต่างๆ ยังถูกปล่อยให้ผุพังไปตามกาลเวลา อีกทั้งยังกลายเป็นที่อยู่อาศัยของคนเร่ร่อน  ด้านนายปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์ นายกเมืองพัทยาคนใหม่ เผยว่าโครงการนี้เป็นปัญหาที่ต้องเร่งแก้ไขให้สำเร็จ เพราะเป็นหนึ่งในนโยบายที่ใช้ในการหาเสียงโดยโครงการก่อสร้างสนามกีฬาภาคตะวันออก เมืองพัทยา จ.ชลบุรี เดิมวางแผนการก่อสร้างไว้ 3 ระยะ คือ ระยะแรกระหว่างปี 2551-2553 ที่จะเป็นการก่อสร้างอัฒจันทร์ขนาด 5,000 ที่นั่ง มีแผนดำเนินการแล้วเสร็จในปี 2554 ระยะที่ 2 เมืองพัทยาได้ทำข้อตกลงกับกองทัพภาคที่ 1 กองทัพบกก่อสร้างอัฒจันทร์ในตำแหน่งที่นั่งประธาน แต่พบปัญหาด้านภูมิศาสตร์และปฐพีศาสตร์เนื่องจากบริเวณที่ตั้งโครงการคือช่วงเนินเขา ส่วนพื้นด้านล่างเป็นแผ่นหินขนาดใหญ่ทำให้การก่อสร้างต้องใช้เทคนิคพิเศษ เช่นเดียวกับลู่วิ่งที่ต้องได้มาตรฐาน และต้องใช้งบประมาณมากขึ้นถึง 536 ล้านบาท โดยมีแผนก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2557

ในปี 2559 รัฐบาลคสช. ตั้งคณะบุคคลเข้ามาเป็นสมาชิกสภาเมืองพัทยาเข้าไปตรวจสอบการก่อสร้างช่วงต้นปี 2560 ซึ่งพบว่าการก่อสร้างที่นั่งฝั่งอัฒจันทร์ภายในสนามฟุตบอลตามมาตรฐานการกีฬาแห่งประเทศไทย 20,000 ที่นั่ง ที่อยู่ในการดูแลของกองพลทหารช่าง มีความคืบหน้าในการก่อสร้าง ส่วนโครงหลังคามีความคืบหน้า 70% เดือนกันยายน 2560 สภาเมืองพัทยา ได้เปิดอภิปรายเรื่องการอนุมัติงบอุดหนุนให้โครงการดังกล่าวจำนวน 99 ล้านบาทโครงการไม่มีความคืบหน้าเมืองพัทยาต้องทำสัญญาจ้างเอกชนตามระบบอีบิดดิ้งมาดำเนินการก่อสร้างในระยะที่ 3 ด้วยงบประมาณ398 ล้านบาทต่ำกว่างบประมาณที่ตั้งไว้445 ล้านบาทที่ได้เบิกจ่ายไปแล้ว 12 งวดเป็นเงิน 143.2 ล้านบาท แต่สุดท้ายผู้รับเหมาได้ทิ้งงานเมืองพัทยา ต้องเสียเงินประกัน 19 ล้านบาท พร้อมค่าปรับอีก 80 ล้านบาท และเงินล่วงหน้าอีก 38 ล้านบาท ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายส่วนที่เหลืออีก 61 ล้านบาทในชั้นศาล

ความล่าช้าในการการก่อสร้างสนามกีฬาแห่งชาติภาคตะวันออกนั้นคณะผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบความคืบหน้าโครงการ เมื่อปีงบประมาณ 2562  เพราะการกีฬาแห่งประเทศไทย มีนโยบายจะผลักดันให้ไทยเสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬายูธโอลิมปิกเกมส์ในปี 2569 และได้เสนอต่อคณะกรรมการโอลิมปิกสากลแล้ว ทางเมืองพัทยาต้องการพัฒนาให้เมืองพัทยาเป็น Sport Tourism เต็มรูปแบบ จึงได้ขอจัดสรรงบประมาณจากสภาเมืองพัทยาอีก 250 ล้านบาท เพื่อดำเนินการให้เสร็จภายใน 2 ปีงบประมาณในระหว่างปี2566ถึง2567 ให้สำเร็จจัดยูธโอลิมปิกได้ในปี2569