แฟนกีฬาคงจะทราบกันดีแล้วว่าคราใดก็ตามที่ทัพนักกีฬา ไทยเข้าสู่สนามทำศึกในการแข่งขันมหกรรมกีฬาระดับชาติทุกครั้งไม่ว่าจะเป็นซีเกมส์เอเชียนเกมส์ และยิ่งสุดยอดกีฬาของมวลมนุษยชาติอย่างโอลิมปิกเกมส์ด้วยแล้ว คนไทยซึ่งถือว่าเป็นทัพหลังจะคอยร้อยแรงใจและส่งแรงเชียร์กันอย่างต่อเนื่องเสมอมา
ยิ่งในศึกโตเกียวเกมส์ 2020 ครั้งนี้ก็เช่นเดียวกันถึงแม้วันนี้ผู้คนในประเทศส่วนใหญ่กำลังเผชิญและเครียดกับวิกฤติโควิด-19 ก็ตาม แต่เชื่อว่าด้วยความรักชาติประกอบกับอยากจะเห็นทัพนักกีฬาไทยสร้างผลงานด้วยการนำเหรียญรางวัลโดยเฉพาะเหรียญทองกลับสู่มาตุภูมิเพื่อสร้างความสุขให้กับสังคมด้วยแล้วเชื่อว่าพลังเชียร์ยังคงจะร้อนแรงไม่น้อยไปกว่าทุกครั้งที่ผ่านมาอย่างแน่นอน
อย่างไรก็ตาม เมื่อกล่าวถึงการสู้ศึกในโอลิมปิกเกมส์ของทัพนักกีฬาไทยนั้นหากมองย้อนไปจากริโอฯ ปี 2016 สู่โตเกียว 2020 ในครั้งนี้นั้นย่อมจะมีข้อแตกต่างกันอยู่ในหลากหลายมิติไม่ว่าจะเป็นจำนวนหรือชนิดกีฬาที่นักกีฬาไทยสามารถคว้าตั๋วหรือได้สิทธิ์ไปแสดงศักยภาพและนำธงไตรรงค์ไปอวดชาวโลก
ทั้งนี้ เมื่อกล่าวถึงปริมาณหรือถ้าจะเปรียบเทียบจำนวนนักกีฬาในการสู้ศึกโอลิมปิกเกมส์นั้น เมื่อส่องเข้าไปดูในปี 2016 ที่บราซิลเป็นเจ้าภาพ พบว่าในครั้งนั้นทัพนักกีฬาไทยที่เข้าร่วมประลองศักดากับนานาชาติมีจำนวน 54 คน แต่ในโตเกียวเกมส์ 2020 ปริมาณหรือจำนวนของนักกีฬาลดลงเหลือเพียง 42 คนจาก 13 ชนิดกีฬาเท่านั้น
เหลืออีกไม่กี่อึดใจที่ไฟในกระถางคบเพลิงจะลุกโชติช่วงชัชวาลขึ้นอีกครั้งที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น และเมื่อถึงเวลานั้นเชื่อว่าเหล่าขุนพลนักกีฬาไทยทุกคนทั้งที่เป็นตัวเต็งกับการคว้าเหรียญรางวัลโดยเฉพาะสุดยอดปรารถนาคือเหรียญทองคงพร้อมที่จะได้แสดงศักยภาพเพื่อโชว์ศักดาและสร้างชื่อเสียงให้ตนเองรวมทั้งประเทศชาติ
เมื่อกล่าวถึงความหวังและโอกาสของทัพนักกีฬาไทยในการเข้าสู่สนามทำศึกในครั้งนี้แฟนกีฬาคงจะทราบแล้วว่าหนึ่งในมิติที่นักกีฬาส่วนใหญ่จะได้รับคือการบ้านและการแบกเอาความกดดันที่ คนข้างหลังเฝ้ารอ ดังนั้นเพื่อให้เหล่านักสู้สามารถก้าวผ่านมิตินี้ไปได้เชื่อว่าเบื้องต้นโค้ชหรือผู้เกี่ยวข้องคงจะเตรียมการเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับนักกีฬากันไว้แล้ว
สำหรับความหวังและโอกาสของทัพนักกีฬาไทยกับความสำเร็จในโตเกียวเกมส์ 2020 ครั้งนี้ต้องยอมรับว่าด้วยปัจจัยต่างๆที่เข้ามาเกี่ยวข้องและเปลี่ยนไปยิ่งการแข่งขันในรูปแบบชีวิตวิถีใหม่ด้วยแล้วนักกีฬาคงต้องเผชิญกับสภาวการณ์
โดยเฉพาะการปรับตัวให้เหมาะกับบริบทและสภาพการณ์ที่เป็นอยู่พอสมควร แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเมื่อกล่าวถึงโอกาสและความหวังกับความสำเร็จของการสู้ศึก ณ วันนี้ผู้สันทัด กรณีที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมพร้อมของนักกีฬาชนิดต่างๆ โดยเฉพาะ กกท.ล่าสุด “ดร.ก้องศักด ยอดมณี” นายใหญ่ขององค์กรกีฬาย่านหัวหมากในฐานะผู้มีข้อมูลเกี่ยวกับการเตรียมการอยู่ในมือให้ทัศนะว่าทัพนักกีฬาไทยจะได้มาอย่างน้อย 2-3 เหรียญทองจากชนิดและนักกีฬาตัวเต็ง
ต่อกรณีนี้สอดคล้องกับผลการสำรวจความคิดเห็นของ KBU SPORT POLL เรื่อง “โตเกียวเกมส์ 2020 กับมุมมองของแฟนกีฬาไทย” เมื่อเร็วๆนี้ เมื่อถามถึงชนิดและนักกีฬาไทยที่คาดว่าจะคว้าเหรียญรางวัลส่วนใหญ่เทไปที่เทควันโด ตามด้วยมวยสากลและแบดมินตัน กอล์ฟ และเป้าบิน ตามลำดับ
ดังนั้นวันนี้เพื่อให้เป้าหมายที่ทุกคนคาดหวังประสบความสำเร็จคงไม่มีสิ่งใดที่จะยิ่งใหญ่ไปกว่าการขอเชิญคนไทยทั้งประเทศร่วมผนึกพลังเชียร์นักกีฬาไทยกันอีกครั้งหรือถ้าแฟนกีฬาโดยเฉพาะน้องๆเยาวชนต้องการจะเป็นสะพานเชื่อมสร้างพลังด้วยการร่วมเชียร์ทัพนักกีฬาไทยก็สามารถเข้าร่วมกิจกรรมกับศูนย์นวัตกรรมการพัฒนาทุนมนุษย์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตเพื่อรับรางวัลอุปกรณ์กีฬาภายใต้แคมเปญ “ร้อยใจเชียร์นักกีฬาไทยในโตเกียวเกมส์ 2020” ผ่านเฟซบุ๊กศูนย์นวัตกรรมการพัฒนาทุนมนุษย์ได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
เหนือสิ่งอื่นใดในฐานะคุณโจโจ้ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในสื่อมวลชนหรือคนกีฬาที่ผ่านประสบการณ์การเข้าร่วมในการทำศึกกีฬาระดับชาติมาอย่างยาวนานคงจะมีประเด็นเพิ่มเติมกับการเชียร์และความหวังของทัพนักกีฬาไทยในโตเกียวเกมส์ 2020 ครั้งนี้
ผศ.ดร.รัฐพงศ์ บุญญานุวัตร
——————————–
พูดถึงโอลิมปิกเกมส์ 2020 ครั้งนี้ถือเป็นประวัติศาสตร์หน้าใหม่ ที่ไม่มีคนดูในสนามนักกีฬาทุกชาติจะแข่งแบบไร้กองเชียร์ของชาติตัวเอง แต่ก็เข้าใจได้เพราะสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ตอนนี้ถือว่าอันตรายและเปราะบางมากๆ หลายชาติจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างน่ากลัว
และเชื่อว่าประเทศญี่ปุ่นเองหากเลื่อนได้ก็อยากจะเลื่อนอีกครั้ง เพราะในการเป็นเจ้าภาพไม่ว่าชาติไหนก็ตามล้วนต้องการให้เศรษฐกิจภายในประเทศดีขึ้น ยิ่งครั้งนี้ญี่ปุ่นวางมาตรการเข้มข้นห้ามคนไม่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าประเทศด้วยแล้ว
นั่นหมายถึงว่า ระบบเศรษฐกิจที่หมายมั่นปั้นมือว่าจะมีเงินทองไหลเข้าประเทศจำนวนมากในช่วงการแข่งขันก็ต้องผิดไปจากเป้าหมาย ด้วยวิกฤติของไวรัสโควิด
ผมชอบใจแคมเปญ “ร้อยใจเชียร์นักกีฬาไทยในโตเกียวเกมส์ 2020” ของมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ถือเป็นกิจกรรมที่โดนใจคนทั้งประเทศ
เรื่องกำลังใจถือเป็นสิ่งสำคัญของนักกีฬาเวลาที่ต้องเดินทางไปแข่งขันในต่างแดน แม้เราจะไม่ได้ไปเชียร์ถึงขอบเวที แต่การเชียร์ผ่านเฟซบุ๊กของศูนย์นวัตกรรมการพัฒนาทุนมนุษย์ ก็ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของแรงกายแรงใจที่ส่งถึงนักกีฬา
อย่างน้อยเวลาที่นักกีฬาได้เปิดอ่านก็รู้สึกมีกำลังใจและได้รับรู้ถึงความห่วงใยของแฟนกีฬาชาวไทยทุกคน
ต้องขอบคุณ “มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต” ที่ผุดแคมเปญนี้ขึ้นมา.
โจโจ้
เผยแพร่: 31 พ.ค. 256…
This website uses cookies.