Golf Sponsored

‘อินโดนีเซีย’ พร้อมเปิดบาหลีรับนทท. เริ่ม ส.ค.นี้ ตามแผน 3B travel bubble – สยามรัฐ

Golf Sponsored
Golf Sponsored

นายซานเดียก้า อูโน่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์แห่งสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ได้กล่าวว่า ทางอินโดนีเซีย พร้อมเปิดเกาะบาหลีต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติปลายเดือนกรกฎาคม 2564 นี้ภายใต้โครงการ Travel Corridor เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจของอินโดนีเซีย โดยเน้นแผนระยะแรกของการเปิดประเทศท่องเที่ยวแบบจับคู่เดินทาง 3B Travel Bubble ได้แก่ 3 เกาะสำคัญนำร่อง บาหลี (Bali) บาตัม (Batam) บินตัน (Bintan) กับ 6 ประเทศที่ควบคุมการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพได้แก่เนเธอร์แลนด์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ จีนสิงคโปร์ ยูเครนและโปแลนด์

โดยแผนดังกล่าวได้ถูกเสนอให้กับคณะรัฐมนตรี หลังเดินหน้าโครงการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด-19 ที่รัฐบาลได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อเดือนมกราคม 2564 ที่ผ่านมา และสามารถควบคุมการระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้ในระดับที่น่าพอใจ โดยเฉพาะบาหลี ที่ปัจจุบันมีประชากรได้รับวัคซีนไปแล้วกว่า 700,000 ราย และกำลังเร่งฉีดวัคซีนให้ประชากรอีกราว 3 ล้านคนหรือ 70% ของจำนวนประชากรบนเกาะบาหลีทั้งหมด 4.4 ล้านคน เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ (herd immunity) ภายในเดือนที่เหลือก่อนการเปิดเกาะอีกครั้ง

สำหรับนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางมาท่องเที่ยวใน 3 เกาะสำคัญนำร่อง บาหลี (Bali) บาตัม (Batam) บินตัน (Bintan) ต้องมีเอกสารรับรองการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ทั้งก่อนและหลังการเดินทาง รวมถึงการกำหนดให้นักท่องเที่ยวใช้แอปพลิเคชั่น Telusur ติดตามตัวและเพื่อตรวจสอบหาเชื้อเพิ่มเติมหากจำเป็น นักท่องเที่ยวทุกคนต้องปฎิบัติตามมาตรการด้านสุขภาพอย่างเข้มงวด โดยในเบื้องต้นรัฐบาลได้จัดสรรพื้นที่ กรีนโซน (Green Zones) 5 เขตนำร่องสำหรับเปิดรับนักท่องเที่ยวในระยะแรก ได้แก่ เขตอูบุด (Ubud), ซานูร์ (Sanur) และ นูซา ดัว (Nusa Dua) ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของเกาะบาหลี และเขตบาตัม (Batam) บินตัน (Bintan) ของเกาะรีเยาซึ่งถือเป็นสามเหลี่ยมทองคำเชื่อมระหว่างอินโดนีเซีย มาเลเซียและสิงคโปร์

ทั้งนี้แต่ละเกาะจะรับเที่ยวบินไม่เกิน 2 เที่ยวต่อวันในช่วงแรกของโครงการนำร่องและให้สิทธิถือวีซ่าแก่นักท่องเที่ยวไม่เกิน 60 วัน ซึ่งทางรัฐบาลอินโดนีเซียจะประเมินผลทุกสองสัปดาห์ก่อนที่จะตัดสินใจว่าจะเปิดพื้นที่บนเกาะบาหลี เพื่อรับนักท่องเที่ยวเพิ่มเติมหรือไม่ในอนาคต ขณะเดียวกันหน่วยงานปกครองท้องถิ่นของบาหลีกำลังเตรียมรายชื่อโรงแรมสำหรับกักตัวโดยนักท่องเที่ยวต้องกักตัว 5 วันและต้องได้รับการตรวจหาเชื้อ (PCR Test) 2 ครั้งโดยดูแลค่าใช้จ่ายทั้งหมดด้วยตนเอง

ขณะที่ ณัฐินีฐิติ ภิญญาปิญชาน์ ผู้แทนภาคพื้นการท่องเที่ยวอินโดนีเซียประจำประเทศไทยและอินโดจีน เผยว่า ล่าสุด บาหลี ครองแชมป์เป็นอันดับ 1 ของแหล่งท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวทั่วโลกค้นหามากที่สุด และอยากไปเยือนมากที่สุดในช่วงเดือนมิถุนายนถึงตุลาคม 2564 ซึ่งจากการสำรวจโดยบริษัท OTA ชื่อดังอย่าง Skyscanner เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ทางอินโดนีเซียสร้างความมั่นใจเตรียมรับ ท่องเที่ยวปกติรูปแบบใหม่ (New Normal) ชูมาตราการซีเอชเอส ความสะอาด สุขภาพอนามัยและความปลอดภัย (CHS Protocol: Cleanliness, Health, and Safety) ระดับสากล นำร่องที่แรกบาหลี และ
บาตัม บินตันรวมถึงเมืองสำคัญอื่นๆ อาทิ จาร์กาตาร์ ยอร์กยาการ์ตาร์ และบันยูวังงี

ซึ่งขณะนี้ 8 ประเภทธุรกิจเกี่ยวเนื่องท่องเที่ยว ได้แก่ โรงแรมและที่พัก, ภัตตาคาร/ร้านอาหาร, สถานที่ท่องเที่ยว, ยานพาหนะ, สนามบิน, ห้างสรรพสินค้า, สนามกอล์ฟ, และร้านค้าของที่ระลึก ได้เข้าสู่มาตรการ CHS เต็มรูปแบบทั้งหมดแล้ว โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติอินโดนีเซีย รายงานว่า เกาะบาหลีต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ 700,000 คนต่อเดือนก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มาเยือนอินโดนีเซียลดลงประมาณ 80-90% เมื่อปีที่ผ่านมา อันเป็นผลมาจากการระบาดใหญ่ดังกล่าว

ทั้งนี้เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2564 ที่ผ่านมา อินโดนีเซียเดินหน้าฉีดวัคซีนให้ประชากรไปแล้วทั้งสิ้น 11,981,034 คน เฉลี่ยวันละ 135,000 คน โดย 7,178,768 คนได้รับโดสที่สองเรียบร้อยแล้ว ในกรุงจาการ์ต้า 1,822,711 คนได้รับโดสแรกในขณะที่ 1,104,607 ได้รับโดสที่สองเรียบร้อยแล้ว รัฐบาลอินโดนีเซียคาดว่าภายในต้นปี 2565 ประชากรสองในสามของประเทศหรือประมาณ 181.5 ล้านคน จะได้รับวัคซีนครบอย่างแน่นอน

ช่วงที่ผ่านมาอินโดนีเซีย วางแผนฉีดวัคซีนเป็น 2 ระยะ ระยะแรก ระหว่างมกราคม – เมษายน 2564 ซึ่งครอบคลุมกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ประมาณ 1.6 ล้านคน กลุ่มเจ้าหน้าที่รัฐและบุคลากรบริการสาธารณะ (รวมท่องเที่ยว) ประมาณ 17.4 ล้านคน และกลุ่มผู้สูงอายุประมาณ 25 ล้านคน ส่วนระยะที่ 2 ระหว่างเมษายน 2564 – มีนาคม 2565 เน้นฉีดกลุ่มบุคคลที่อาศัยในพื้นที่เสี่ยงสูงของการแพร่เชื้อประมาณ 63.9 ล้านคน และประชาชนกลุ่มอื่นๆ ประมาณ 77.4 ล้านคน โดยคาดว่าราวเดือนพฤษภาคม 2564 นี้จะมีประชาชนราว 38.5 ล้านคนที่ได้รับวัคซีนครบ ทั้งนี้รัฐบาลอินโดนีเซียยืนยันแล้วว่าเมื่อเดือนเมษายน 2564 ที่ผ่านมากลุ่มบุคลากรด้านบริการการท่องเที่ยวใน 10 พื้นที่ท่องเที่ยวหลักทั่วประเทศได้รับการจัดลำดับฉีดวัคซีนเป็นกลุ่มแรกเรียบร้อยแล้ว

อย่างไรก็ตามทางรัฐบาลอินโดนีเซีย ได้ทุ่มงบประมาณจำนวน 5.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในการจัดหาวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด-19 จากบริษัทผู้ผลิตหลายรายรวม 329.5 ล้านโดส อาทิ จากซิโนวัค ไบโอเทค (Sinovac Biotech) จำนวน 125.5 ล้านโดส โนวาแวกซ์ (Novavax) จำนวน 50 ล้านโดส จากโคแวกซ์-กาวี (COVAX-GAVI) จำนวน 54 ล้านโดส จากแอสตราเซเนกา (AstraZeneca) จำนวน 50 ล้านโดส และไฟเซอร์ (Pfizer) อีก 50 ล้านโดส นอกจากนี้รัฐบาลอินโดนีเซียยังเจรจาซื้อวัคซีนเพิ่มเติมจาก โมเดอร์นา (Moderna) และซิโนฟาร์ม จำนวน 20 ล้านโดสสำหรับโครงการฉีดวัคซีนในภาคเอกชนเพื่อเป็นทางเลือกและช่วยเหลือภาครัฐต่อสู้กับวิกฤติในครั้งนี้ โดยโครงการนี้กำลังได้รับความร่วมมือจากภาคเอกชนในการสนับสนุนจัดฉีดให้กับพนักงานขององค์กรหลายๆแห่ง

Golf Sponsored
กอล์ฟ

กอล์ฟ (อังกฤษ: Golf) คือกีฬาหรือเกมประเภทบอลชนิดหนึ่ง ซึ่งผู้เล่นใช้ไม้หลายชนิดตีลูกบอลให้ลงหลุม จากกฎของกอล์ฟ ระบุว่า "กีฬากอล์ฟประกอบด้วยการเล่นลูกใดลูกหนึ่งด้วยไม้กอล์ฟจากแท่นตั้งทีไปลงหลุมโดยการสโตรคหนึ่งครั้งหรือหลายครั้งต่อเนื่องกันตามกฎข้อบังคับ" กอล์ฟเป็นหนึ่งในกีฬาประเภทบอลเพียงไม่กี่ชนิดที่ไม่มีอาณาเขตการเล่นที่แน่นอน (สนามกอล์ฟแต่ละแห่งสามารถมีรูปร่างและขนาดต่างกัน)

This website uses cookies.