เมื่อวันที่ 26 เมษายน นายชลธี ยังตรง ผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร ลงนามในประกาศจังหวัดยโสธร เรื่อง มาตรการเร่งด่วนในการป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) เพิ่มเติม (ฉบับที่ 25) ระบุว่า ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2563 และข้อกำหนด ออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (ฉบับที่ 1-ฉบับที่ 19) ข้อกำหนด ออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (ฉบับที่ 20) ลงวันที่ 16 เมษายน พ.ศ.2564 รวมทั้งมาตรการหรือแนวทางปฏิบัติที่รัฐได้กำหนดขึ้น เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ตามคำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) (ศบค.) ในแต่ละฉบับ และประกาศเรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร (คราวที่ 1-คราวที่ 11) โดยที่รัฐบาลได้ผ่อนคลายการบังคับใช้มาตรการต่าง 1 เพื่อควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ดังนั้น เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่จังหวัดยโสธรปลอดภัยจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) จึงต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคตามมาตรฐานสากลอย่างเคร่งครัด
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 22(7) มาตรา 34 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติโรค พ.ศ.2558 และข้อ 7(1) ของข้อกำหนด ออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (ฉบับที่ 1) ลงวันที่ 25 มีนาคม 2563 และข้อกำหนด ออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (ฉบับที่ 20) ลงวันที่ 26 เมษายน 2564 ผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร โดยคามเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดโสธร ในการประชุมครั้งที่ 16/2564 เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2564 จึงกำหนดมาตรการเร่งด่วนในการป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) จังหวัดยโสธร ดังนี้
1.ผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่ควบคุมสูงสุด หรือผู้สัมผัสเสี่ยงสูง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณากักกันผู้พักอาศัยในบ้าน หรือสถานที่ที่ทางราชการจัดให้ ทุกคน เป็นเวลา 14 วัน เพื่อเฝ้าสังเกตอาการ โดยกำหนดให้บ้านเป็นที่เอกเทศ ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 ให้ผู้พักอาศัยในบ้านทุกคนป้องกันตนเองตลอดเวลา ไม่รับประทานอาหารและใช้ภาชนะร่วมกัน สวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า เว้นระยะห่างระหว่างบุคคลมากกว่า 1 เมตร ทำความสะอาดมือ และอุปกรณ์ที่สัมผัสบ่อยๆ แยกของใช้ ที่นอน ห้องน้ำ หลีกเลี่ยงการพูดคุยอย่างใกล้ชิด หากต้องพูดคุยให้ใช้เวลาสั้นที่สุด การออกจากที่เอกเทศต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานควบคุมโรค
2.ให้ปิดตลาดนัด สนามมวย สนุกเกอร์ บิลเลียด ตู้เกม ร้านเกมและอินเตอร์เน็ต โรงภาพยนตร์ ยิม ฟิตเนส สวนน้ำ บ้านบอล สวนสาธารณะ สนามเด็กเล่น สระว่ายน้ำทั้งกลางแจ้งและในร่ม สนามพระเครื่อง สนามกีฬา (สนามแข่งขัน สนามฝึกซ้อม) สถานที่ออกกำลังกาย ลานออกกำลังกายหรือสถานที่ในลักษณะเดียวกัน สนามกอล์ฟ สนามฝึกซ้อมกอล์ฟ ตั้งแต่วันที่ 27 เมษายน 2564 ไปจนถึงวันที่ 10 พฤษภาคม 2564
3.ให้ปิดสถานบริการ สถานประกอบการที่มีลักษณะคล้ายสถานบริการ (สถานที่ที่มีการจำหน่ายอาหาร เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มีดนตรี การแสดงดนตรี หรือการแสดงอื่นใดเพื่อการบันเทิง) สถานบันเทิง ผับ บาร์ คาราโอเกะ หรือสถานที่อื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน เป็นการชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 3 พฤษภาคม 2564 ไปจนถึงวันที่ 10 พฤษภาคม 2564 เวลา 24.00 นาฬิกา
4.ห้ามประชาชนในพื้นที่จังหวัดยโสธร รวมกลุ่มหรือมั่วสุมในลักษณะที่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรค ในสถานการณ์ที่มีการแพร่ระบาดและพบผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและขยายเป็นวงกว้าง เช่น การรวมกลุ่มดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ การรวมกลุ่มสังสรรค์หรือรื่นเริง ตั้งแต่วันที่ 27 เมษายน 2564 ไปจนถึงวันที่ 10 พฤษภาคม 2564
5.ให้ประชาชนในพื้นที่จังหวัดยโสธร หรือบุคคลที่เข้ามาในพื้นที่จังหวัดยโสธร สวมใส่หน้ากากอนามัย/ผ้า ยกเว้นการทำกิจกรรมที่จำเป็นต้องถอดหน้ากาก เช่น รับประทานอาหารหรือเครื่องดื่ม ทั้งนี้ ผู้ที่ออกนอกเคหสถานยังต้องถือปฏิบัติตามคำสั่งจังหวัดยโสธร ที่ 3715/2563 เรื่อง ให้ผู้ออกหรือสถานที่พำนักของตนต้องสวมใส่หน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าทุกครั้ง ลงวันที่ 22 เมษายน 2563 โดยเคร่งครัด หากฝ่าฝืนมีความผิดตามมาตรา 51 แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
6.ให้ประชาชนในพื้นที่จังหวัดยโสธรดำเนินชีวิตแบบวิถีใหม่ (New Normal) เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดโรคทางเดินหายใจอื่นๆ ไม่เฉพาะโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยสวมใส่หน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าอยู่เสมอ หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีคนอยู่รวมกันจำนวนมาก และถือปฏิบัติตามมาตรการ D-M-H-T-T-A เพื่อป้องกันตนเอง ดังนี้ D : Distancing เว้นระยะห่าง M : Mask wearing สวมหน้ากาก H : Hand washing ล้างมือบ่อยๆ T : Temperature ตรวจวัดอุณหภูมิ T : Testing ตรวจเชื้อโควิด-19 และ A : Application Thaichana ใช้แอพพลิเคชั่นไทยชนะ/หมอชนะ และสามารถเข้าไปประเมินตนเองได้ผ่านแอพพลิเคชั่นไทยเซฟไทย ว่ามีความเสี่ยงที่จะแพร่เชื้อหรือไม่ เป็นการปกป้องคนในครอบครัวและเพื่อนในที่ทำงานไม่ให้เป็นโควิด-19
7.ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง พนักงานเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคง และพนักงานเจ้าหน้าที่อื่นที่มีหน้าที่รับผิดชอบ ประสานการปฏิบัติงานอย่างใกล้ชิด ในการตรวจสอบการดำเนินการตามมาตรการป้องกันโรคและการจัดระเบียบ และเพิ่มความเข้มงวดในการเข้าตรวจพื้นที่ สถานที่ กิจการ หรือกิจกรรมต่างๆ ที่อาจมีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ดำเนินการไปตามเงื่อนไข เงื่อนเวลา รวมทั้งมาตรการป้องกันโรคตามที่ทางราชการกำหนด ทั้งนี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจให้คำแนะนำ ตักเตือน ห้ามปราม และมีอำนาจกำหนดระยะเวลาเพื่อให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบ เจ้าของ หรือผู้จัดการสถานที่ดำเนินการปรับปรุงแก้ไข รวมทั้งเสนอให้ผู้มีอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อพิจารณาสั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว
บรรดามาตรการอื่นๆ ตามประกาศจังหวัดยโสธร คำสั่งจังหวัดยโสธร ที่ได้กำหนดหรือสั่งไว้ก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับ ซึ่งไม่ได้ระบุไว้ในประกาศฉบับนี้ ให้มีผลใช้บังคับต่อไปเช่นเดิมทุกประการเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งต่อประกาศฉบับนี้ ซึ่งการออกคำสั่งหรือประกาศของจังหวัดทุกฉบับ คำนึงถึงการป้องกันโรคควบคู่ไปกับสภาวะทางเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของประชาชนในจังหวัดยโสธรเป็นสำคัญ
ทั้งนี้ ให้เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 ในพื้นที่เฉพาะในเขตท้องที่อำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประชาสัมพันธ์ ชี้แจง ควบคุม กำกับ ให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องถือปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศโดยเคร่งครัด
อนึ่ง การดำเนินการตามประกาศนี้ เป็นกรณีที่มีสถานการณ์อันกระทบหรืออาจกระทบต่อความสงบ เรียบร้อย ความปลอดภัย และการดำรงชีวิตโดยปกติสุขของประชาชน อันมีมาอย่างฉุกเฉินและร้ายแรง จึงไม่อยู่ในบังคับของกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง และกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง ทั้งนี้ ตามมาตรา 16 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ผู้ใดฝ่าฝืนมีความผิดตามมาตรา 18 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 มีโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และมีความผิดตามมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 มีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปจนกว่าจะมีประกาศหรือคำสั่งเปลี่ยนแปลง ซึ่งจังหวัดจะได้ประเมินสถานการณ์เป็นระยะๆ เพื่อกำหนดแนวทางปฏิบัติให้เหมาะสมในแต่ละห้วงเวลาต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จังหวัดยโสธรพบผู้ป่วยโควิด-19 ระลอกใหม่ จำนวน 39 ราย
เผยแพร่: 31 พ.ค. 256…
This website uses cookies.