ข้อ1 ให้คงมาตรการการปิดสถานที่ชั่วคราว และกำหนดมาตรการการเฝ้าระวัง ควบคุม และป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ดังนี้
1.1 ห้ามการจัดกิจกรรมซึ่งมีการรวมกลุ่มของบุคคลที่มีจำนวนรวมกัน มากกว่าสามสิบคน เว้นแต่ ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือเป็นกิจกรรมที่ดำเนินการโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือเป็นกิจกรรมในพื้นที่ที่กำหนดให้เป็นสถานที่กักกันโรคโดยให้ดำเนินการตามมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนด
1.2 ห้ามรวมกลุ่มทำกิจกรรม สังสรรค์ ดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ในพื้นที่สาธารณะ ชายหาด สวนสาธารณะ สนามเด็กเล่น ถนนริมคลอง ถนนรอบอ่างเก็บน้ำ ขุมน้ำสาธารณะ
1.3 สถานบริการ ผับ บาร์ คาราโอเกะ สถานบันเทิง และสถานประกอบการที่มีลักษณะคล้ายสถานบริการ ทุกแห่งในท้องที่จังหวัดภูเก็ตเป็นการชั่วคราว
1.4 สนามชนไก่ สนามกัดปลา สนามแข่งนก สนามแข่งไก่ สนามมวย หรือสถานที่จัดให้มีการเล่นการพนัน
1.5 สถานที่จัดให้มีโต๊ะสนุกเกอร์ บิลเลียด หรือโต๊ะพูล
1.6 ร้านเกมคอมพิวเตอร์ เกมออนไลน์
1.7 ห้ามการจำหน่ายสุรา หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สำหรับร้านอาหารทุกประเภทและห้ามการบริโภคสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ภายในร้าน
1.8 ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ หรือสถานประกอบการอื่นที่มีลักษณะคล้ายกันให้เปิดดำเนินการได้ตามเวลาปกติของสถานที่นั้นๆ จนถึงเวลา 21.00 นาฬิกา โดยให้จำกัดจำนวนผู้ใช้บริการ ยกเว้น การจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย รวมถึงส่วนที่เป็นตู้เกม เครื่องเล่น ร้านเกม สวนสนุก ให้งดบริการ
1.9 ร้านสะดวกซื้อ ซูเปอร์มาร์เกต ให้เปิดดำเนินการได้ตามเวลาปกติของสถานที่นั้นๆ แต่ไม่เกินเวลา 23.00 นาฬิกาโดยให้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนด สำหรับร้านหรือสถานที่ซึ่งตามปกติเปิดให้บริการตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมงให้เริ่มเปิดดำเนินการได้ในเวลา 04.00 นาฬิกา
1.10 โรงภาพยนตร์ โรงมหรสพ สวนน้ำ
1.11 การถ่ายทำรายการโทรทัศน์ ภาพยนตร์ และวีดิทัศน์ ซึ่งเมื่อรวมคนทำงานหน้าฉากและทุกแผนกแล้ว ต้องมีจำนวนไม่เกิน 50 คน และต้องไม่มีผู้ชมเข้าร่วมรายการ
ข้อ 2 การจัดกิจกรรมทางสังคม
2.1 การจัดกิจกรรมทางสังคม ห้ามประชาชนจัดกิจกรรมทางสังคมในลักษณะที่เป็นงานสังสรรค์ งานเลี้ยง งานรื่นเริง งานวันเกิด งานขึ้นบ้านใหม่ เลี้ยงรับ – ส่ง และ เลี้ยงฉลองแสดงความยินดีในโอกาสต่างๆ เว้นแต่ เป็นการจัดพิธีการตามประเพณีนิยม เช่น งานศพ งานบวช งานแต่งงาน หากไม่สามารถชะลอหรือเลื่อนไปได้ให้กำหนดมาตรการป้องกันโรคที่เพียงพอเพื่อลดโอกาสเสี่ยงจากการติดเชื้อ
2.2 การร่วมรับประทานอาหาร หรือดื่มสุราร่วมด้วย ทำกิจกรรมสังสรรค์ภายในครอบครัว ในบ้าน หรือสถานที่พักอื่นใด ต้องไม่มีบุคคลภายนอกร่วมด้วย และห้ามมิให้มีการรวมกลุ่มจัดกิจกรรมอื่นใดที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อ กรณีที่ผู้ฝ่าฝืนหรือกระทำความผิดเป็นชาวต่างชาติ ให้พิจารณาการยกเลิกอาศัยอยู่ในราชอาณาจักร ตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองโดยเคร่งครัด
ข้อ 3 การดำเนินรูปแบบการปฏิบัติงาน
3.1 ขอความร่วมมือให้เจ้าของกิจการผู้ประกอบการภาคเอกชนพิจารณาและดำเนินรูปแบบการปฏิบัติงานของบุคลากรในความรับผิดชอบในช่วงเวลานี้ โดยอาจเป็นการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง การสลับวันทำงาน หรือวิธีการอื่นใดที่เหมาะสมเพื่อลดโอกาสเสี่ยงจากการติดเชื้อ
3.2 ให้หัวหน้าส่วนราชการหรือหัวหน้าหน่วยงานพิจารณาการปฏิบัติงานเหลื่อมเวลาหรือการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง (Work From Home) ตามความเหมาะสม เพื่อประโยชน์ในการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19)
3.3 ส่วนราชการที่มีพื้นที่ให้บริการประชาชน ให้ดำเนินการรูปแบบใหม่ (New Normal) โดยใช้ระบบการลงทะเบียนออนไลน์ และการจองคิวเข้าใช้บริการล่วงหน้า จัดระบบคิว และพื้นที่รอคิว ที่นั่งหรือยืนห่างกันอย่างน้อย 1 เมตร ควบคุมจำนวนผู้ใช้บริการมิให้แออัดตามขนาดพื้นที่ ให้งดหรือชะลอการบริการที่เห็นว่าไม่มีความจำเป็นเร่งด่วนออกไปก่อน เว้นแต่งานบริการ หรือธุรกรรมบางประเภทที่ต้องมีเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาตามระเบียบกฎหมาย และไม่กระทบความเดือดร้อนของประชาชน และให้บุคลากรผู้ให้บริการปฏิบัติตนโดยถือหลัก D-M-H-T-T-A
ข้อ 4 มาตรการเพื่อรองรับผู้ติดเชื้อ
4.1 การสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าเพื่อป้องกันการแพร่โรคเมื่ออยู่นอกเคหสถานหรืออยู่ในที่สาธารณะ เพื่อลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อและป้องกันมิให้เกิดสภาวะที่ไม่ถูกสุขลักษณะเพื่อจำกัดวง ในการระบาดของโรค เมื่ออยู่นอกเคหสถานหรือเมื่ออยู่ในที่สาธารณะ ให้ประชาชนสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าและต้องสวมให้ถูกวิธีตามที่กระทรวงสาธารณสุขแนะนำ เมื่อพบผู้ไม่ปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ว่ากล่าวตักเตือนและสั่งให้ผู้นั้นปฏิบัติให้ถูกต้อง ถ้าผู้นั้นไม่ปฏิบัติตาม ให้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และถือปฏิบัติตามคำสั่งจังหวัดภูเก็ต ที่ 62/2564 ลงวันที่ 7 มกราคม 2564
4.2 ให้ผู้ติดเชื้อทุกรายเข้ารับการตรวจรักษาและเข้ารับการแยกกักหรือการกักกันในสถานที่และตามระยะเวลาซึ่งเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ฝ่ายสาธารณสุขกำหนดจนกว่าจะได้ตรวจทางการแพทย์แล้วว่าพ้นระยะติดต่อของโรคหรือสิ้นสุดเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรค
4.3 ให้ผู้ติดเชื้อหรือผู้ที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าติดเชื้อรีบแจ้งต่อเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่สาธารณสุขหรือผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในพื้นที่ทันทีเมื่อทราบว่าตนติดเชื้อหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าติดเชื้อดังกล่าว เพื่อรับทราบแนวปฏิบัติตนและเข้ารับการแยกกักหรือกักกันเพื่อเตรียมพร้อมก่อนที่จะเข้ารับการตรวจหรือรักษาตามขั้นตอนทางสาธารณสุขต่อไป
ข้อ 5 ให้เปิดสถานประกอบการโดยยังคงมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
โรงเรียนและสถาบันการศึกษาทุกประเภทให้สามารถใช้อาคารหรือสถานที่เพื่อการจัดการเรียนการสอน การสอบ การฝึกอบรม หรือการทำกิจกรรมใดๆ ได้ตามความเหมาะสมและความพร้อม โดยให้ดำเนินการตามคำแนะนำของทางราชการและมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนด ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยให้ถือปฏิบัติตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 19 พฤษภาคม 2564 เรื่อง การเลื่อนเวลาเปิดภาคเรียนที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2564 และประกาศกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1.1 ให้โรงเรียนและสถานศึกษาในสังกัดและในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการเลื่อนการเปิดภาคเรียนที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2564 เป็นวันที่ 14 มิถุนายน 2564
1.2 โรงเรียนหรือสถานศึกษาแห่งใดมีความพร้อมและประสงค์จะเปิดภาคเรียนที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2564 ก่อนวันที่กำหนดตามข้อ 1 ให้โรงเรียนหรือสถานศึกษาแห่งนั้นดำเนินการ ดังนี้โรงเรียนหรือสถานศึกษา สามารถจัดการเรียนการสอนได้ทั้ง 5 รูปแบบ (On Site, On Air, Online, On Hand, On Demand) โดยรูปแบบ On Site นั้น โรงเรียนหรือสถานศึกษาต้องผ่านเกณฑ์การประเมินความพร้อมขอระบบ Thai Stop Covid + (TSC +) และได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดภูเก็ตก่อน
2. สถานประกอบกิจการสปา กิจการนวดเพื่อสุขภาพ กิจการนวดเพื่อเสริมความงาม ตามพระราชบัญญัติสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ.2559 และพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 สถานประกอบการนวดแผนไทย นวดฝ่าเท้า สถานประกอบกิจการอาบอบตัว
3. สถานที่หรือสำนักบริการสักผิวหนัง หรือเจาะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย พยากรณ์ ดูดวงชะตา พิธีสะเดาะเคราะห์ ผูกเสริมดวง บูชาครู องค์เทพ องค์พระ หรือกิจกรรมอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน
4. ศูนย์พระเครื่องพระบูชา แผงพระเครื่อง พระบูชา หรือสนามพระเครื่องพระบูชา
5. สถานที่ให้บริการบ่อตกกุ้ง หรือบ่อตกปลา
6. สถานประกอบการสำหรับกิจการหรือธุรกิจนำเที่ยวและธุรกิจเกี่ยวเนื่อง และการจัดกิจการดำน้ำ ผิวน้ำ และดำเนินธุรกิจดำน้ำลึก
7. ตลาดถนนคนเดิน ตลาดนัด ร้านค้าปลีก/ค้าส่งชุมชน ต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคโดยต้องควบคุมทางเข้า – ออก จัดให้มีการตรวจวัดอุณหภูมิ การเว้นระยะห่างในการเลือกสินค้าและชำระราคา
8. ให้สถานรับเลี้ยงเด็กเอกชนทุกแห่งในจังหวัดภูเก็ต สถานสงเคราะห์เด็กเอกชน และสถานแรกรับ เด็กเอกชน สามารถเปิดให้บริการได้ โดยต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนดอย่างเคร่งครัด
9. ร้านจำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่มให้บริโภคอาหารหรือเครื่องดื่มในร้านได้ภายในกำหนดเวลาปกติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยห้ามการบริโภคสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในร้าน
10. สนามกีฬาหรือสถานที่เพื่อการออกกำลังกายกลางแจ้ง สวนสาธารณะ ลาน พื้นที่กิจกรรมสาธารณะโล่งแจ้ง สามารถเปิดให้บริการได้โดยต้องไม่มีผู้ชมหรือผู้มาชุมนุมกัน โดยงดเว้นการใช้เครื่องเล่นออกกำลังกาย หรือการเล่นแบบรวมกลุ่ม
11. สถานที่หรือสนามออกกำลังกายในร่ม เช่น โรงยิม ฟิตเนส แบดมินตัน
12. สนามกอล์ฟ หรือสนามฝึกซ้อมกอล์ฟ ให้เปิดบริการได้ โดยห้ามจัดการแข่งขัน และต้องไม่มีผู้ชม หรือผู้มาชุมนุมกัน
13. โรงเรียนสอนมวย หรือศิลปะการต่อสู้ทุกประเภท สนามฝึกซ้อมหรือกิจกรรมอื่นใดในลักษณะทำนองเดียวกัน
14. สระว่ายน้ำที่เปิดให้บริการประชาชนเป็นการทั่วไป ทั้งในส่วนราชการและผู้ประกอบการเอกชน และสระว่ายน้ำที่มีเครื่องเล่นให้บริการ
15. คลินิกเสริมความงาม สถาบัน ร้านหรือสถานที่ที่ให้บริการเฉพาะเสริมความงาม ร้านทำเล็บ ลดความอ้วน ให้เปิดดำเนินการได้
16. ร้านเสริมสวย ร้านตัด และตกแต่งทรงผม สำหรับบุรุษและสตรี ให้เปิดได้เฉพาะกิจกรรมสระ ตัด ซอยผม แต่งผม
17. สถานที่ให้บริการดูแลสัตว์ สปา อาบน้ำ ตัดขน รับเลี้ยง หรือรับฝากสัตว์
อนึ่งเนื่องจากเป็นกรณีที่มีความจำเป็นเร่งด่วนหากปล่อยให้เนิ่นช้าไปจะก่อให้เกิดผลเสียหายอย่างร้ายแรงแก่สาธารณชนหรือกระทบต่อประโยชน์สาธารณะจึงไม่อาจให้คู่กรณีใช้สิทธิโต้แย้งตามมาตรา 30 วรรคสอง (1) แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539
หากผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งฉบับนี้ อาจเป็นความผิดตามมาตรา 51 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือมาตรา 52 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับแห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 และอาจได้รับโทษตามมาตรา 18 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ.2564 เป็นต้นไป จนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง สั่ง ณ วันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ.2564 ลงชื่อ นายณรงค์ วุ่นซิ้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ผู้กำกับการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินในเขตพื้นที่จังหวัดภูเก็ต
ข้อมูล: ศูนย์ข้อมูลโควิดจังหวัดภูเก็ต