กักตัววิถีใหม่ “บนเรือยอชต์” แบบ 4.0

โดย PPTV Online

เผยแพร่

ปรับปรุงล่าสุด

การกักตัวในรูปแบบต่างๆ ทั้ง การกักตัวในสนามกอล์ฟ กักตัวในรีสอร์ตหรือโรงแรม ไปดูการกักตัวรูปแบบใหม่บนเรือยอชต์เป็นแบบ 4.0 ด้วย

กักตัววิถีใหม่ “บนเรือยอชต์” แบบ 4.0
กักตัววิถีใหม่ “บนเรือยอชต์” แบบ 4.0

ไทยผุดไอเดียรับนักท่องเที่ยว กักตัวบนเรือยอชต์ 14 วัน

เรือยอชต์มูลค่านับพันล้านบาท ที่จอดอยู่กลางผืนน้ำอันดามัน เคยเป็นหนึ่งในไฮไลท์ของทะเลภูเก็ต สุดยอดแห่งเมืองท่องเที่ยวระดับโลก ที่วันนี้ถูกคลื่นโควิด-19 ซัดจนเสียหายอย่างหนัก เฉพาะปี 2563 ภูเก็ตสูญรายได้จากภาคการท่องเที่ยวไปกว่า 3.2 แสนล้านบาท ทำให้ผู้คนในจังหวัดต้องขาดรายได้ ตกงานกันเป็นจำนวนมาก

แต่ล่าสุดก็มีความหวังใหม่อีกครั้ง กับโครงการกักตัววิถีใหม่บนเรือยอชต์ หรือ Digital Yacht Quarantine ครั้งแรกในไทย โดยใช้ศักยภาพโครงข่าย AIS NB-IoT และนวัตกรรมสายรัดข้อมือติดตามสุขภาพอัจฉริยะ มาใช้กับมาตรการสาธารณสุขเพื่อกักตัวนักท่องเที่ยวบนเรือยอชต์กลางทะเลก่อนเดินทางขึ้นบก ซึ่งเครือข่าย Narrow Band IoT บนคลื่น 900 MHz ที่สามารถกระจายสัญญาณออกไปในทะเลได้มากกว่า 10 กม.

ขณะที่ผู้ประกอบการสมาคมเรือยอชต์ ก็ยอมรับว่าโครงการดังกล่าว จะเข้ามาช่วยสร้างเศรษฐกิจได้เป็นอย่างมาก เพราะนักท่องเที่ยวที่เข้ามาโดยเรือยอชต์เป็นนักท่องเที่ยวระดับ อีลิท เพียงแค่มูลค่าเรือแต่ละลำก็สูงถึง 800-1,000 ล้านบาทแล้ว สิ่งสำคัญคือมีการใช้จ่ายสูง เช่น ค่าอาหารระดับแสนบาทต่อครั้ง ค่าจอดเรือหลายหมื่นบาท รวมถึงเมื่อขึ้นฝั่งก็ยังมีการท่องเที่ยวพักวิลล่าหรูระดับหลายสิบล้าน ซึ่งตรงนี้จะช่วยให้รายได้ที่หายไปกว่า 50- 60% เริ่มกลับมา

เมื่อมีรายได้จากนักท่องเที่ยวที่มีกำลังซื้อเข้ามา ชาวบ้านในพื้นที่ก็มีอาชีพกันอีกครั้ง ขณะเดียวกันมาตรการสาธารณสุข ก็ถูกควบคุมด้วยเทคโนโลยีระดับสูง ที่จะมอนิเตอร์ข้อมูลสุขภาพของนักท่องเที่ยว ทั้งอุณหภูมิร่างกาย, อัตราการเต้นของหัวใจ, สัญญาณชีพจร รวมถึงพิกัดของนักท่องเที่ยว และส่งข้อมูลต่อมายังแพทย์และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง ให้วิเคราะห์ความเสี่ยงด้านสุขภาพของนักท่องเที่ยวได้แบบเรียลไทม์ระหว่างกักตัว 14 วันบนเรือ ซึ่งโมเดลนี้ก็อาจจะต่อยอดไปได้ในอีกหลายพื้นที่

อีกสิ่งหนึ่งน่าชื่นชมไม่แพ้กัน คือ ความมุ่งมั่นร่วมมือกันเพื่อการแก้ไขอุปสรรค ที่นำให้หลายหน่วยงานสำคัญของไทยมาร่วมมือกันฟันฝ่าวิกฤตโควิด-19 ในครั้งนี้ เพื่อเป็นแสงสว่างที่ประเทศไทยจะฟื้นฟูเศรษฐกิจให้กลับมาเติบโต และให้คนไทยได้มีรอยยิ้มอีกครั้ง

การเดินทางวิถีใหม่ เปลี่ยนไปในยุคโควิด-19